ทอดกฐิน 2564 วัดจากแดง
ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมเป็นเจ้าภาพ ทอดกฐิน ประจำปี 2564 โดยใช้ผ้าไตรจีวรรีไซเคิลทำจากขวดน้ำดื่ม เพื่อสมทบทุนสร้างอาคารเรียนพระไตรปิฎก ณ สุธัมมศาลา วัดจากแดง ตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
วันอาทิตย์ที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ (ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๑๒)
พิธีเริ่มเวลา ๐๙.๐๐ น.
เจ้าภาพกฐิน คุณเภาลีนา บุญญาภิภัทร และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ในกาลกฐินปีพุทธศักราช ๒๕๖๔ นี้ วัดจากแดง มีพระภิกษุจำนวน ๕๑ รูป เพื่ออนุเคราะห์พระภิกษุที่อยู่จำพรรษา ครบไตรมาส(๓ เดือน) ได้กระทำกฐินัตถาวรกิจให้ถูกต้องตามพระบรมพุทธานุญาต และได้รับอานิสงส์ของกฐิน ๕ ประการ ในปีนี้ คุณเภาลีนา บุญญาภิภัทร และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประธานทอดผ้าไตรรีไซเคิลจากขวดพลาสติก จึงใคร่ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมงานบุญอีกทั้งเพื่อรวบรวมทุนทรัพย์จัดสร้างอาคารเรียนพระไตรปิฎกในครั้งนี้
ร่วมบุญ กองทุนสร้างอาคารเรียนพระไตรปิฎก
ธนาคารกสิกรไทย สาขาพระประแดง
ชื่อบัญชี วัดจากแดง
เลขที่บัญชี 193-2-83107-2
กำหนดการทอดกฐิน 2564
- เวลา ๐๘.๐๐ น. สวดสมโภชผ้ากฐิน(รีไซเคิลจากขวดพลาสติก)
- เวลา ๐๙.๐๐ น. ประธานสายบุญ เตรียมแห่ผ้ากฐิน(รีไซเคิลจากขวดพลาสติก) และบริวารกฐิน
- เวลา ๑๐.๐๐ น. สดับพระธรรมเทศนา พิธีทอดผ้า และถวายเครื่องบริวารกฐิน
- เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพล ณ ศาลาหอฉัน /รับประทานอาหารร่วมกัน เป็นเสร็จพิธี
ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย จงดลบันดาลให้พุทธศาสนิกชนผู้ถวายการบำรุงพระพุทธศาสนาทุกท่าน
จงเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระพุทธศาสนาเพียบพร้อมด้วยจตุรพิธพรชัย คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ
ปฏิภาณธนสารสมบัติ ตลอดกาลเป็นนิตย์เทอญ
ใบอนุโมทนาบัตร ติดต่อที่
- โทร: ๐๒ ๔๖๔ ๑๑๒๒ หรือ 0979342179 (คุณเกด ประชาสัมพันธ์วัดจากแดง)
- ติดต่อทางไลน์ LINE ID: pr.watjakdang (คลิก)
สอบถาม วิธีการทอดกฐิน ทอดกฐิน 2564 วันไหน
- ติดต่อ สอบถาม: โทร: 0979342179 คลิก (คุณเกด ประชาสัมพันธ์ วัดจากแดง)
- LINE วัดจากแดง:
ทอดกฐิน 2564 วันไหน วัดไหน
-
กฐิน พ.ศ. ๒๕๖๔ (ประเทศไทย) เริ่มตั้งแต่: วันศุกร์ ๒๒ ตุลาคม จนถึง วันศุกร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
- วัดจากแดง ทอดกฐิน วันอาทิตย์ที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ (ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๑๒)
กำหนดการทอดกฐิน 2564
- พิธีเริ่มเวลา ๐๙.๐๐ น. เจ้าภาพกฐิน บําเพ็ญสังฆทานบุญกิริยาแห่งการทอดกฐิน ผู้มีจิตศรัทธาเป็นเจ้าภาพบําเพ็ญสังฆทานบุญกิริยาแห่งการทอดกฐิน
ทอดกฐิน คือ
ตามพระวินัยบัญญัติในพุทธศาสนาเถรวาท พระพุทธองค์มิได้ทรงห้ามรับผ้าจากผู้ศรัทธานำผ้าไตรจีวรมากรานกฐินแด่พระสงฆ์ จึงเป็นเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้เกิดพิธีถวายผ้ากฐินของพุทธศาสนิกชนขึ้นมา การถวายผ้ากฐินนั้น จัดเป็นสังฆทาน คือ ถวายแก่คณะสงฆ์โดยไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ตามที่คณะสงฆ์ลงมติ (ญัตติทุติยกรรมวาจา) และจัดเป็นกาลทาน คือ มีกำหนดเขตเวลาถวายที่แน่นอน โดยคณะสงฆ์วัดหนึ่ง ๆ จะสามารถรับผ้ากฐินได้ครั้งเดียวในรอบปี ระยะเวลานั้นมีเพียง ๑ เดือน คือ ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ (วันเพ็ญเดือน ๑๒) หรือนับจากวันออกพรรษา ไปหมดเขตวัน ลอยกระทง เรียกช่วงเวลานี้ว่า กฐินกาล หมายถึง ระยะเวลาที่มีการ ทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน
ความหมาย กฐิน
กฐิน ความหมาย (บาลี: กฐิน) เป็นคำศัพท์ปรากฎใน พระวินัยปิฎก เถรวาท ใช้ชื่อเรียกผ้าไตรจีวร ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาครบ ๓ เดือน สามารถรับผ้ากฐินมานุ่งห่มได้ คำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน เป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติให้พระสงฆ์สามารถทำสังฆกรรมในช่วงเวลา วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
จุลกฐิน หมายถึง คำเรียกพิธีทอดกฐิน ที่ต้องทําตั้งแต่ปั่นฝ้าย ทอ เย็บ ย้อมผ้ากฐิน และถวายสงฆ์ให้เสร็จในวันเดียว โดยปริยายหมายความว่า งานที่ต้องเร่งทําอย่างชุลมุนวุ่นวาย และอาศัยความร่วมมือของคนหมู่มากเพื่อให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด
ประเพณีทอดกฐิน เทศกาลกฐิน
ประเพณีการทอดกฐินในช่วงเทศกาลออกพรรษามีมาแล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาล จัดเป็นกาลทานที่เป็นงานสำคัญประจำปี สำหรับพุทธศาสนิกชนไทย มี 2 รูปแบบ คือ พิธีหลวง และ พิธีราษฎร์ ซึ่งการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์ เป็น กฐินหลวง จัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญประจำปี ส่วน กฐินราษฎร์ เป็นกฐินที่ประชาชนหรือราษฎรที่มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา นำผ้ากฐินของตนเองไปทอดถวาย ณ วัดต่างๆ (เว้นไว้แต่วัดหลวงที่กล่าวมาแล้วในกฐินหลวง) นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนไทยก็ยังมีการเรียกกฐินราษฎร์ในรูปแบบที่แยกย่อยออกไปอีก ได้แก่
- มหากฐิน หรือ กฐินสามัคคี นิยมจัดกันที่ศาลาการเปรียญหรือวิหารสำหรับทำบุญ ผู้เป็นประธานหรือเจ้าภาพได้เตรียมการในการทอดกฐิน โดยรวบรวมปัจจัยไทยทาน ไม่ว่าจะเป็นเงิน(เพื่อใช้เป็นทุนในการซ่อมแซมบูรณวัด) และสิ่งของมาประกอบเป็นบริวาณกฐิน
- จุลกฐิน หรือ กฐินแล่น หมายถึง กฐินที่เร่งทอดถวาย ทุกฝ่ายต้องช่วยกันทำให้เสร็จภายในกำหนดหนึ่งวัน ทำฝ้าย ปั่น กรอ ตัด เย็บ ย้อม ทำให้เป็นขันธ์ได้ขนาดตามพระวินัย แล้วทอดถวายให้เสร็จในวันนั้น
- กฐินตกค้าง หมายถึง กฐินจร ซึ่งคนสมัยก่อนจะนิยมการใช้สำนวนเรียกว่า กฐินโจร คือ การทอดกฐินที่ไม่มีการจองวัดไว้ก่อนล่วงหน้าตามธรรมเนียมกฐินปกติ ทอดให้วัดใดวัดหนึ่งแบบจู่โจม (ปัจจุบันไม่มีแล้ว)
ประโยชน์ที่ได้รับ อานิสงส์การทอดกฐิน
ในปัจจุบัน การถวายผ้ากฐินในแง่ สังฆกรรม การสนับสนุนผ้าไตรจีวรแด่พระสงฆ์ ได้ถูกลดความสำคัญลงไป โดยไปเน้นให้ความสำคัญกับ บริวารของกฐิน เช่น เงิน หรือวัตถุสิ่งของซึ่งถือว่าเป็นสังฆทานอย่างหนึ่ง โดยเชื่อว่าจะช่วยในการพัฒนา บำรุง ซ่อมแซมถาวรวัตถุ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และส่งเสริมให้พระภิกษุ ให้ได้ตามปฏิบัติตามพระวินัย ถือปฏิบัติมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนถึงปัจจุบันนี้ อานิสงส์ของการร่วมทำบุญทอดกฐินส่งผล ดังนี้
- ทำให้เป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์สินมาก และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้โดยง่าย
- ทำให้เป็นผู้มีจิตใจแช่มชื่น บริสุทธิ์และผ่องใสอยู่เสมอ
- ทำให้เป็นผู้มีจิตใจตั้งมั่น เป็นสมาธิและเข้าถึงธรรมได้โดยง่าย
- ได้ชื่อว่าเป็นผู้สามารถใช้ทรัพย์สมบัติให้เกิดเป็นบุญกุศลติดตัวไปในภพเบื้องหน้าได้อย่างเต็มที่
- ทำให้เป็นคนรูปงาม ผิวพรรณงาม เป็นที่รักของคนทั่วไป
- ทำให้เป็นผู้มีชื่อเสียง เกียรติคุณ น่ายกย่องสรรเสริญ เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาน่าเคารพนับถือ
วันออกพรรษามีความสำคัญอย่างไร
วันออกพรรษา มีความสำคัญ สำหรับพุทธศาสนาในประเทศไทย เป็นวันที่พระสงฆ์อยู่จำพรรษาครบไตรมาศ ๓ เดือน ในช่วงฤดูฝน ตามพระพุทธบัญญัติ ซึ่งเริ่มต้นเข้าพรรษา ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑ แล้วมาออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นวันมหาปวารณา หมายถึง การแสดงออกถึงความเต็มใจที่จะยอมรับ และเปิดโอกาสให้เพื่อนภิกษุได้กล่าวคำตักเตือนกัน และยังเป็นวันที่ พระพุทธเจ้าเสด็จจากสวรรค์ ดาวดึงส์ เทวโลก กลับสู่โลกมนุษย์ หลังจากได้จำพรรษาเพื่อทรงแสดงพระธรรมเทศนาชื่อ “พระอภิธรรมปิฎก โปรดพระพุทธมารดา ตลอด ๓ เดือน เมื่อพุทธบริษัทได้ทราบข่าวต่างพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อทำบุญตักบาตรกันอย่างเนื่องแน่น กลายเป็นที่มาของประเพณีที่ชาวพุทธปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน เรียกว่า ประเพณีตักบาตรเทโวโรหนะ หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ตักบาตรเทโว หมายถึงการหยั่งลงมาจากเทวโลก
ที่จอดรถ วัดจากแดง
- วัดจากแดงมีสถานที่จอดรถยนต์ (กลางแจ้ง) รองรับได้จำนวนมาก รถทัวร์ รถบัส สามารถเข้ามาจอดทางเข้าด้านหลังวัด ไม่มีการเก็บค่าที่จอดรถใด ๆ ทั้งสิ้น สำหรับในช่วงเทศกาล หรืองานพิธีต่าง ๆ ทางวัดจะมีจิตอาสาจราจร มาช่วยอำนวยความสะดวกให้
คำสำคัญ: สืบสานวัฒนธรรมประเพณี, สังฆกรรม, สังฆทาน, ไทยธรรม, จำพรรษา, ผ้าอาบน้ำฝน เจ้าภาพ ร่วมเป็นเจ้าภาพ งานบุญ, ทำบุญ, ขบวนแห่ ทอดกฐิน, ทอดกฐินสามัคคี กฐินสามัคคี กรานกฐิน กฐิน, kind of a set of new robes, สะดึง ปั่นฝ้าย ทอ เย็บ ย้อมผ้ากฐิน, ถวายพระสงฆ์, กองกฐิน กฐินสามัคคี, กฐินหลวง, ประเภทของกฐิน, พิธีทอดกฐิน พุทธบัญญัติ, วิธีการทอดกฐิน, ครองผ้ากฐินกี่เดือน, การทอดกฐิน อานิสงส์ จุลกฐิน, กฐินแล่น, มหากฐิน กวนข้าวมธุปายาส, บุญกฐิน กฐินบุญ ทำบุญกฐิน
โพสอื่น ๆ เกี่ยวกับ การทอดกฐิน
- ทอดกฐิน ๒๕๖๓
- กฐินพระราชทาน พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี ๒๕๖๓
- ร่วมทอดกฐินสามัคคี ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๓
- ร่วมทอดผ้าจุลกฐิน รีไซเคิล ๑๙-๒๐ ต.ค. ๒๕๖๒
- ร่วมเป็นเจ้าภาพกฐินสามัคคี ๑๑ พ.ย. ๒๕๖๑
- ทอดกฐินสามัคคี และ เทศน์มหาชาติ ๑๖-๑๗ ก.ย. ๒๕๖๐
- ร่วมทอดกฐินสามัคคี กฐินกาล ๓๐ ต.ค. ๒๕๕๙
- ร่วมทอดกฐินสามัคคี ๑ พ.ย. ๒๕๕๘
- พิธีทอดกฐิน วัดจากแดง ๑๙ ต.ค. ๒๕๕๗
- พิธีถวายผ้าพระกฐิน ๒๐ ต.ค. ๒๕๕๖