ทอดกฐิน 2563 อานิสงส์การทอดกฐิน กำหนดการทอดกฐิน ประเพณีทอดกฐิน 2563

ทอดกฐิน 2563 กำหนดการทอดกฐิน อานิสงส์การทอดกฐิน

ทอดกฐิน 2563 กำหนดการทอดกฐิน อานิสงส์การทอดกฐิน ณ วัดจากแดง สืบเนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน ให้บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล โดย คุณพิชัย จิราธิวัฒน์ คุณมุกดา จิราธิวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุล ได้รับพระราชทานผ้าพระกฐินให้นำไปทอด ณ วัดจากแดง ตําบลทรงคนอง อําเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ในวันอาทิตย์ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๓ จึงขอเรียนเชิญทุกท่านเข้าร่วมทำบุญถวายผ้าพระกฐินพระราชทานโดยพร้อมเพรียงกัน ตามหมายกําหนดการ ดังนี้ (ทอดกฐิน 2563 วันไหน กำหนดการทอดกฐิน 2563 วิธีการทอดกฐิน กฐินพระราชทาน)

คลิกไปที่ ทอดกฐิน 2564 วัดจากแดง 

 

ชมภาพงานกฐินพระราชทาน ๒๕๖๓ วัดจากแดง กรุณาคลิกตรงนี้

 


กำหนดการเดิม ของวันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2563 พิธีทอดกฐิน ประจำปี 2563 ( ทอดกฐิน 2563 ) วัดจากแดง อําเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ  เจ้าภาพ (เดิม) บําเพ็ญสังฆทานบุญกิริยาแห่งการทอดกฐิน ผู้มีจิตศรัทธาเป็นเจ้าภาพบําเพ็ญสังฆทานบุญกิริยาแห่งการทอดกฐิน อาจารย์อิศริยา นุตสาระ, คุณอรสา ทองไข่มุก, คุณพัชธร กิตินุกูลศิลป์, คุณมณีรัตน์ เหล่าสุนทร, คุณสุรีย์ อภิธนสมบัติ, คุณอริศรา สว่างวรรณ, คุณประเสริฐ เลิศอัควลักษณ์, คุณเสริมสุข ปัทมสถาน, นายภราดร เพ็งศิริ(ครูเต๋า), นางขวัญฉัตร์ กีรติยศโยธิน, นายอภิชาติ ต้นน้ำนิ่ง, คุณนาวิน เซกิ(อินเดีย), คุณปิติกา เซกิ(อินเดีย), คุณอนุรุธ ว่องวานิช, น้ำดื่มชีวิต(เลขาชื่อคุณเอก), คุณแอ๋ว(รพ.ศรีราชาสมิติเวช)

งานบุญทอดกฐิน เป็นเครื่องบ่งบอกว่า พระสงฆ์ที่วัดนั้นได้จําพรรษา เจริญไตรสิกขา และบําเพ็ญศาสนกิจมาถ้วนไตรมาส คือ ครบ ๓ เดือน พระสงฆ์ทั้งเก่าใหม่ได้อานิสงส์ พรรษา มีสิทธิรับกฐิน และเมื่อรับกฐินแล้ว ก็พร้อมที่จะออกจาริกแยกย้าย กันไป โดยได้ขยายเวลาแห่งอานิสงส์นั้นออกไปอีก ๔ เดือน

ผู้ศรัทธาที่นําผ้ากฐินมาทอดถวาย ชื่อว่าได้ทําบุญกับพระสงฆ์ที่จําพรรษาอบรมไตรสิกขา มาอย่างจริงจัง ช่วยให้ท่านได้ยืดอานิสงส์พรรษาออกไป กับทั้งเป็นโอกาส ที่จะได้บํารุงวัด ในคราวใหญ่ประจําปี ที่เป็นทั้งสังฆทาน และเป็นทั้งกาลทาน อันนับว่าเป็นบุญยิ่งใหญ่

 

ทอดกฐิน 2563 วันไหน(กฐินหลวง)

  • พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ณ วัดจากแดง วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2563

 


สามารถร่วมบุญตามกำลังศรัทธาได้ที่

  • ชื่อบัญชี วัดจากแดง เลขที่บัญชี 060-1-24211-7 ธนาคารกสิกรไทย สาขาราษฎร์บูรณะ

พิธีทอดกฐิน พุทธบัญญัติ

ตามพระวินัยบัญญัติในพุทธศาสนาเถรวาท พระพุทธองค์มิได้ทรงห้ามรับผ้าจากผู้ศรัทธานำผ้าไตรจีวรมากรานกฐินแด่พระสงฆ์ จึงเป็นเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้เกิดพิธีถวายผ้ากฐินของพุทธศาสนิกชนขึ้นมา การถวายผ้ากฐินนั้น จัดเป็นสังฆทาน คือ ถวายแก่คณะสงฆ์โดยไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ตามที่คณะสงฆ์ลงมติ (ญัตติทุติยกรรมวาจา) และจัดเป็นกาลทาน คือ มีกำหนดเขตเวลาถวายที่แน่นอน โดยคณะสงฆ์วัดหนึ่ง ๆ จะสามารถรับผ้ากฐินได้ครั้งเดียวในรอบปี ระยะเวลานั้นมีเพียง 1 เดือน คือ ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันเพ็ญเดือน 12) หรือนับจากวันออกพรรษา ไปหมดเขตวัน ลอยกระทง เรียกช่วงเวลานี้ว่า กฐินกาล หมายถึง ระยะเวลาที่มีการ ทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน 

ประเพณีทอดกฐิน

ประเพณีทอดกฐิน เทศกาลกฐิน

ประเพณีการทอดกฐินในช่วงเทศกาลออกพรรษามีมาแล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาล จัดเป็นกาลทานที่เป็นงานสำคัญประจำปี สำหรับพุทธศาสนิกชนไทย มี 2 รูปแบบ คือ พิธีหลวง และ พิธีราษฎร์ ซึ่งการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์ เป็น กฐินหลวง จัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญประจำปี ส่วน กฐินราษฎร์ เป็นกฐินที่ประชาชนหรือราษฎรที่มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา นำผ้ากฐินของตนเองไปทอดถวาย ณ วัดต่างๆ (เว้นไว้แต่วัดหลวงที่กล่าวมาแล้วในกฐินหลวง) นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนไทยก็ยังมีการเรียกกฐินราษฎร์ในรูปแบบที่แยกย่อยออกไปอีก ได้แก่

  • มหากฐิน หรือ กฐินสามัคคี นิยมจัดกันที่ศาลาการเปรียญหรือวิหารสำหรับทำบุญ ผู้เป็นประธานหรือเจ้าภาพได้เตรียมการในการทอดกฐิน โดยรวบรวมปัจจัยไทยทาน ไม่ว่าจะเป็นเงิน(เพื่อใช้เป็นทุนในการซ่อมแซมบูรณวัด) และสิ่งของมาประกอบเป็นบริวาณกฐิน
  • จุลกฐิน หรือ กฐินแล่น หมายถึง กฐินที่เร่งทอดถวาย ทุกฝ่ายต้องช่วยกันทำให้เสร็จภายในกำหนดหนึ่งวัน ทำฝ้าย ปั่น กรอ ตัด เย็บ ย้อม ทำให้เป็นขันธ์ได้ขนาดตามพระวินัย แล้วทอดถวายให้เสร็จในวันนั้น
  • กฐินตกค้าง หมายถึง กฐินจร ซึ่งคนสมัยก่อนจะนิยมการใช้สำนวนเรียกว่า กฐินโจร คือ การทอดกฐินที่ไม่มีการจองวัดไว้ก่อนล่วงหน้าตามธรรมเนียมกฐินปกติ ทอดให้วัดใดวัดหนึ่งแบบจู่โจม (ปัจจุบันไม่มีแล้ว)

ทอดกฐิน หมายถึง

กฐิน ความหมาย  (บาลี: กฐิน) เป็นคำศัพท์ปรากฎใน พระวินัยปิฎก เถรวาท ใช้ชื่อเรียกผ้าไตรจีวร ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาครบ ๓ เดือน สามารถรับผ้ากฐินมานุ่งห่มได้ คำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน เป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติให้พระสงฆ์ สามารถทำสังฆกรรมในช่วงเวลา วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

จุลกฐิน หมายถึง คำเรียกพิธีทอดกฐิน ที่ต้องทําตั้งแต่ปั่นฝ้าย ทอ เย็บ ย้อมผ้ากฐิน และถวายสงฆ์ให้เสร็จในวันเดียว โดยปริยายหมายความว่า งานที่ต้องเร่งทําอย่างชุลมุนวุ่นวาย และอาศัยความร่วมมือของคนหมู่มากเพื่อให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด

อานิสงส์การทอดกฐิน

คำถวายผ้ากฐิน 

” อิมัง มะยัง ภันเต, สะปะริวารัง, กะฐินะจีวะระทุสสัง, สังสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, สังโฆ, อิมัง สะปะริวารัง, กะฐินะทุสสัง, ปะฏิคคัณหาตุ, ปะฏิคคะเหตตะวาจะ, อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง, อัตถะระตุ, อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ นิพพานายะจะ ฯ ”

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ ของ ข้าพเจ้าทั้งหลาย และ เมื่อรับแล้วขอจงกรานใช้ กฐิน ด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์ และ ความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ


ประโยชน์ที่ได้รับ อานิสงส์การทอดกฐิน

ในปัจจุบัน การถวายผ้ากฐินในแง่ สังฆกรรม การสนับสนุนผ้าไตรจีวรแด่พระสงฆ์ ได้ถูกลดความสำคัญลงไป โดยไปเน้นให้ความสำคัญกับ บริวารของกฐิน เช่น เงิน หรือวัตถุสิ่งของซึ่งถือว่าเป็นสังฆทานอย่างหนึ่ง โดยเชื่อว่าจะช่วยในการพัฒนา บำรุง ซ่อมแซมถาวรวัตถุ ของวัด และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและส่งเสริมให้พระภิกษุได้ตามปฏิบัติตามพระวินัย ซึ่งถือปฏิบัติมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนถึงปัจจุบันนี้

ธรรมบรรยาย เรื่อง อานิสงส์การถวายผ้าพระกฐิน พระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร เจ้าอาวาสวัดจากแดง เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ณ สุธัมมศาลา วัดจากแดง


ทอดกฐิน กับทอดผ้าป่า ต่างกันอย่างไร

  • การทอดผ้าป่า ไม่มีกำหนดระยะเวลาในการทอด สามารถทอดผ้าป่ากันได้ตลอดทั้งปี  ทางวัด สามารถจัดงานทอดผ้าป่ากี่ครั้งก็ได้ และไม่มีการเจาะจงเกี่ยวกับพระภิกษุที่จะรับผ้าป่าแต่อย่างใด
  • การทอดกฐิน มีกำหนดระยะเวลาในการทอด อยู่ในช่วงเวลา วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ทางวัดสามารถจัดทอดกฐินได้เพียง 1 ครั้ง ต่อปี และจะต้องมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาครบ 5 รูป

วันออกพรรษามีความสำคัญอย่างไร

วันออกพรรษา มีความสำคัญ สำหรับพุทธศาสนาในประเทศไทย เป็นวันที่พระสงฆ์อยู่จำพรรษาครบไตรมาศ 3 เดือน ในช่วงฤดูฝน ตามพระพุทธบัญญัติ ซึ่งเริ่มต้นเข้าพรรษา ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 1 แล้วมาออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันมหาปวารณา หมายถึง การแสดงออกถึงความเต็มใจที่จะยอมรับ และเปิดโอกาสให้เพื่อนภิกษุได้กล่าวคำตักเตือนกัน และยังเป็นวันที่ พระพุทธเจ้าเสด็จจากสวรรค์ ดาวดึงส์ เทวโลก กลับสู่โลกมนุษย์ หลังจากได้จำพรรษาเพื่อทรงแสดงพระธรรมเทศนาชื่อ “พระอภิธรรมปิฎก โปรดพระพุทธมารดา ตลอด ๓ เดือน เมื่อพุทธบริษัทได้ทราบข่าวต่างพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อทำบุญตักบาตรกันอย่างเนื่องแน่น กลายเป็นที่มาของประเพณีที่ชาวพุทธปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน เรียกว่า ประเพณีตักบาตรเทโวโรหนะ หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ตักบาตรเทโว หมายถึงการหยั่งลงมาจากเทวโลก

วันออกพรรษามีความสำคัญอย่างไร

พุทธศาสนิกชนจะใช้โอกาสอันดีนี้เข้าวัด บำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษา และตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาล โดยนิยมร่วมกันทอดกฐิน ในระยะเวลา 1 เดือนหลังออกพรรษา ซึ่งมีทั้ง จุลกฐิน และ มหากฐิน


รูป ภาพ เกี่ยวข้องกับ งานกฐิน 2563 :

 

วัดจากแดง เดินทาง แผนที่

เกี่ยวกับ ที่จอดรถ วัดจากแดง

วัดจากแดงมีสถานที่จอดรถยนต์ (กลางแจ้ง) รองรับได้จำนวนมาก รถทัวร์ รถบัส สามารถเข้ามาจอดภายในวัด โดยไม่มีการเก็บค่าที่จอดรถใด ๆ ทั้งสิ้น สำหรับในช่วงที่มีงานเทศกาล ทางวัดจะมีจิตอาสาจราจร มาช่วยอำนวยความสะดวกให้


คำสืบค้น: กฐิน ทอดกฐิน อานิสงส์การทอดกฐิน วิธีการทอดกฐิน, ทอดกฐิน2563 ทอดกฐินสามัคคี, ทอดกฐิน หมายถึง, ประโยชน์ที่ได้รับ การทอดกฐิน, ทอดกฐิน2563วันไหน, พิธีทอดกฐิน พุทธบัญญัติ, ทอดกฐิน2562, สังฆกรรม, สังฆทาน, ไทยธรรม, จำพรรษา, ผ้าอาบน้ำฝน เจ้าภาพ ร่วมเป็นเจ้าภาพ งานบุญ, ทำบุญ, ขบวนแห่ ทอดกฐิน, กฐินสามัคคี กรานกฐิน กฐิน, kind of a set of new robes, สะดึง ปั่นฝ้าย ทอ เย็บ ย้อมผ้ากฐิน, ถวายพระสงฆ์, กองกฐิน กฐินสามัคคี, กฐินหลวง, ประเภทของกฐิน, วิธีการทอดกฐิน, ครองผ้ากฐินกี่เดือน, การทอดกฐิน อานิสงส์ จุลกฐิน, กฐินแล่น, มหากฐิน กวนข้าวมธุปายาส, บุญกฐิน กฐินบุญ ทำบุญกฐิน

[wpcdt-countdown id=”13634″]

วัดจากแดง ทอดกฐิน 2563 อานิสงส์การทอดกฐิน