หลักสูตรพระไตรปิฎกชั้นต้น (๑ ปี)

หลักสูตรพระไตรปิฎกชั้นต้น (๑ ปี)

คลิกชมถ่ายทอดสด

โครงการศึกษาพระไตรปิฎก หลักสูตรพระไตรปิฎกชั้นต้น (๑ ปี) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โดย อาจารย์น้อม ดาดขุนทด เรียนออนไลน์  หรือเรียนที่สถาบันพระบาฬีโพธิยาลัย วัดจากแดง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เมื่อสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย โปรดติดต่อสอบถามได้ที่: คลิกโทร ๐๙๘-๕๕๑-๖๒๘๓,  LINE ID: tipitakasikkhalai หรือทางอีเมล์: [email protected] เริ่มเรียนตั้งแต่ ๑๔ มิ.ย. ๒๕๖๔

นักศึกษาพระไตรปิฎกชั้นต้น และชั้นกลาง เรียนจันทร์-ศุกร์ หยุดเฉพาะวันพุธ และวันพระใหญ่

คลิกดาวน์โหลด หนังสือประกอบการศึกษาพระไตรปิฎกชั้นต้น

หนังสือประกอบการศึกษาพระไตรปิฎกชั้นต้น

ภาคเรียนที่ ๑ /๒๕๖๔

๑. วิชา ปาฬิสิกขา


๒. วิชา ขุททกปาฐะ


๓. หนังสืออ่านประกอบและเอกสารประกอบการเรียน


หนังสือประกอบการศึกษาพระไตรปิฎกชั้นต้น

ภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๔

๑. วิชาสัททสังเขป นามคณะย่อและสัพพนามคณะ


๒. วิชาธรรมบทอรรถกถา (เรื่องสั้น ๆ ๑๕ เรื่อง)

 

รายละเอียดหลักสูตรพระไตรปิฎกชั้นต้น (๑ ปี)

*Link รวมถ่ายทอดสด ดูย้อนหลัง ทุกรายวิชา

*facebook ถ่ายทอดสด

*บันทึกการเรียนการสอน พระไตรปิฎกชั้นต้น

*ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ (๑๐ มิ.ย. ๒๕๖๔)

ตารางวันหยุดเรียน (เทอม 1/2564)

วันหยุดเรียน ชั้นต้น ชั้นกลาง

๑. ชื่อโครงการ

  • โครงการศึกษาพระไตรปิฎก หลักสูตรพระไตรปิฎกชั้นต้น (๑ ปี)

๒. หลักการและเหตุผล

พระไตรปิฎก คือ คัมภีร์ที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกอบด้วยพระวินัยปิฎก ที่ประมวลพระพุทธบัญญัติเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติ ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิตและวิธีดำเนินกิจการต่าง ๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ พระสุตตันตปิฎก ที่ประมวลพระพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาและธรรมบรรยายต่าง ๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคล เหตุการณ์ และโอกาส และพระอภิธรรมปิฎก ที่ประมวลคำสอนที่เป็นเนื้อหาหรือหลักวิชาล้วน ๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์

พระไตรปิฎกนี้จัดเป็นปริยัติสัทธรรม ซึ่งเป็นฐานรากไปสู่ปฏิบัติสัทธรรมและปฏิเวธสัทธรรมต่อไป เมื่อปริยัติอันตรธานไป ปฏิบัติก็ย่อมอันตรธานไป เมื่อปริยัติคงอยู่ ปฏิบัติก็คงอยู่ ฉะนั้น ปริยัติสัทธรรมจึงชื่อว่าเป็นอายุพระพุทธศาสนา ซึ่งการรักษาสืบทอดพระพุทธศาสนาเป็นหน้าที่โดยตรงของสถาบันสงฆ์ที่จะต้องผลิตพระภิกษุสามเณรที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งส่งเสริมพระภิกษุสามเณรที่มีอยู่ในปัจจุบันให้พรั่งพร้อมด้วยความรู้ความสามารถประสบผลสำเร็จในการศึกษาปริยัติสัทธรรม

แต่ในปัจจุบัน การศึกษาปริยัติสัทธรรมของคณะสงฆ์ไทย ได้ปรับเปลี่ยนจากสมัยก่อนเป็นอันมาก กล่าวคือมิได้นำพระไตรปิฎกบาฬี พร้อมอรรถกถา และฎีกา เป็นต้น มาเป็นหลักในการเรียนการสอน เพราะขาดแคลนบุคลากรผู้แตกฉานด้านคัมภีร์สัททาวิเสส (หลักบาฬีไวยากรณ์ชั้นสูง) และผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก และการศึกษาก็อาศัยพระไตรปิฎกภาษาไทยเพียงอย่างเดียว จึงทำให้เกิดปัญหาการตีความพระธรรมวินัยคลาดเคลื่อน ผิดเพี้ยนไป ส่งผลเสียต่อสังคมชาวพุทธเป็นวงกว้าง

ด้วยเหตุนี้ สถาบันพระบาฬีโพธิยาลัยวัดจากแดง นำโดย พระราชวัชรบัณฑิต (ประนอม ธมฺมาลงฺกาโร) ได้เห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้ริเริ่มจัด โครงการศึกษาพระไตรปิฎก หลักสูตรธัมมาจริยะ (๒ ปี) ขึ้น เพื่อจัดการเรียนการสอนนัยยะในพระไตรปิฎกควบคู่ไปกับการเชื่อมโยงองค์ความรู้จากคัมภีร์ชั้นอรรถกถาและฎีกา และเปิดโอกาสให้พระภิกษุสามเณรผู้สนใจได้ศึกษาเล่าเรียน โดยมุ่งหวังว่าจะสามารถผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในพระไตรปิฎก  และรักษาสืบทอดพระพุทธศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้คงอยู่สืบไป

๓. วัตถุประสงค์

  • ๑. เพื่อให้ผู้ศึกษามีความรู้ความเข้าใจในไวยากรณ์บาลีพื้นฐาน มีทักษะในการใช้ภาษาบาลี อันเป็นประโยชน์ในการศึกษาพระไตรปิฎกพื้นฐานได้๒. เพื่อให้ผู้ศึกษามีความรู้ความเข้าใจ เห็นคุณค่าและประโยชน์ของพระไตรปิฎก สามารถนำความรู้ไปประพฤติปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

๔. สถานที่ดำเนินงาน

  • สถาบันโพธิยาลัยวัดจากแดง ๑๖ หมู่ ๖ ถนนเพชรหึงษ์ ซอยเพชรหึงษ์ ๑๐ ตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐ โทรศัพท์: ๐๒-๔๖๔-๑๑๒๒

๕. รายละเอียดหลักสูตร

หลักสูตรพระไตรปิฎกชั้นต้น ประกอบด้วย ๔ รายวิชา คือ

  • ก. ปาฬิสิกขา (การใช้ภาษาบาลี)
  • ข. สัททสังเขป (ไวยากรณ์บาลีย่อ)
  • ค. ขุททกปาฐะ (บทสวดสั้น ๆ)
  • ง. พระวินัยปิฎก (มหาวรรค มหาขันธกะ)

 

ก. ปาฬิสิกขา (การใช้ภาษาบาลี)

ศึกษาปาฬิสิกขา (การใช้ภาษาบาลี) กัณฑ์ที่ ๑ ไตรสรณคมน์ อรรถของวิภัตติทั้ง ๗, กัณฑ์ที่ ๒ ฝึกถาม-ตอบภาษาบาลี อรรถของวิภัตติ และวาจกต่าง ๆ, กัณฑ์ที่ ๓ วิภัตติอาขยาต, กิตก์กิริยา, ต ปัจจัย เป็นต้น, นิบาตต่าง ๆ อธิบาย  ฝึกการสนทนาถาม-ตอบ แปลบาลีเป็นไทย ไทยเป็นบาลี ฟังให้ชินหู ดูให้ชินตา ภาวนาให้ชินใจ จากนั้นฝึกอ่านให้ติดปาก ดูให้ติดตา และภาวนาให้ติดใจ

วัตถุประสงค์

  •  ๑. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจการใช้ภาษาบาลี และมีทักษะในการอ่าน การเขียน การพูด การฟัง สามารถสนทนาภาษาบาลี และแปลภาษาบาลีขั้นพื้นฐานได้
  • ๒. เพื่อให้สามารถนำความรู้ในหลักการใช้ภาษาบาลี เพื่อการศึกษาพระไตรปิฎก (ขั้นต้น) เช่น พระสุตตัตตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เป็นต้น

 

ข. สัททสังเขป (ไวยากรณ์บาลีย่อ)

ศึกษาสัททสังเขป ไวยากรณ์บาลีย่อ ๖ กัณฑ์ คือ ๑) นามคณะย่อ ว่าด้วยนามศัพท์
(ชื่อคนเป็นต้น) ๑๔ คณะ ได้แก่  ปุริสาทิคณะ จิตตาทิคณะ กัญญาทิคณะ มโนคณะ มโนคณาทิคณะ
คุณวันตาทิคณะ คัจฉันตาทิคณะ ปุมาทิคณะ ราชาทิคณะ สัตถาทิคณะ รัตตาทิคณะ นทาทิคณะ
คหปตาทิคณะ และสัพพนามคณะ ๒) อาขยาตคณะย่อ ว่าด้วยหมู่บทกิริยา ๘ คณะ ได้แก่ ภูวาทิคณะ รุธาทิคณะ ทิวาทิคณะ สวาทิคณะ กิยาทิคณะ คหาทิคณะ ตนาทิคณะ และจุราทิคณะ ๓) สนธิย่อ
ว่าด้วยการเชื่อมบท ๕ ประเภท ได้แก่ สระสนธิ พยัญชนะสนธิ นิคคหิตสนธิ อาคมสนธิ และอาเทสสนธิ ๔) สมาสย่อ ว่าด้วยการย่อบท ๖ ประเภท ได้แก่ อัพพยีภาวสมาส กัมมธารยสมาส ทิคุสมาส
ตัปปุริสสมาส พหุพพีหิสมาส และทวันทสมาส ๕) ตัทธิตย่อ ว่าด้วยปัจจัยที่เกื้อกูลแก่นามบท ๖ หมวด ได้แก่ อปัจจตัทธิต อเนกัตถตัทธิต อัสสัตถิตัทธิต สังขยาตัทธิต ภาวตัทธิต และอัพยยตัทธิต และ ๖) กิตก์ย่อ ว่าด้วยปัจจัยที่ขจัดความสงสัย ๗ สาธนะ ได้แก่ กััตตุสาธนะ กัมมสาธนะ กรณสาธนะ สัมปทานสาธนะ อปาทานสาธนะ อธิกรณสาธนะ และภาวสาธนะ

วัตถุประสงค์

  • ๑. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น สามารถประกอบรูปศัพท์ แปล วิเคราะห์ และอธิบายเนื้อความของบทต่าง ๆ ในภาษาบาลีได้อย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์
  • ๒. เพื่อให้เกิดทักษะในการใช้ภาษาบาลี สามารถเขียน-อ่าน-สวด-พูด และแปลพระบาลีและอรรถกถาตามที่กำหนดให้ (เช่นเรื่องสั้น ๆ จากธรรมบทอรรถกถา) และสามารถนำทักษะไปใช้ในการศึกษาบาฬีไวยากรณ์ชั้นสูงและพระไตรปิฎกได้

 

ค. ขุททกปาฐะ (บทสวดสั้น ๆ)

ศึกษาขุททกปาฐะ (บทสวดสั้น ๆ) ๑. สรณคมน์ ว่าด้วยการถึงสรณะ ๒. ทสสิกขาบท ว่าด้วยสิกขาบท ๑๐ ประการ ๓. ทวัตติงสาการ ว่าด้วยอาการคืออวัยวะทุกส่วนในร่างกาย ๓๒ อย่าง  ๔. กุมารปัญหา (สามเณรปัญหา, โสปากสามเณร) ว่าด้วยการถามปัญหากับโสปากสามเณร ๕. มงคลสูตร ว่าด้วยมงคลคือเหตุให้ได้รับความสำเร็จ ความเจริญ และสมบัติทั้งปวง มี ๓๘ ประการ  ๖. รตนสูตร ว่าด้วยรัตนะคือของที่มีค่ามาก ไม่มีสิ่งเปรียบทั้งในด้านคุณลักษณะ ความงดงาม ความประณีต เป็นของที่หาได้ยากและก่อให้เกิดความยินดี ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ๗. ติโรกุฑฑสูตร ว่าด้วยเรื่องเปรตที่อยู่ภายนอกฝาเรือน ๘. นิธิกัณฑสูตร ว่าด้วยการฝังขุมทรัพย์ ๙. เมตตสูตร ว่าด้วยการแผ่เมตตา

วัตถุประสงค์

  • ๑. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในขุททกปาฐะอย่างถูกต้อง สามารถสวดออกเสียงอักขระอย่างถูกต้อง รู้ความหมายและสาระสำคัญของสูตรเหล่านั้น
  • ๒. เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ทั้งการสวดถูกอักขระ รู้ความหมาย และมีเมตตาจิต และเผยแผ่ความรู้ เทศนา สั่งสอนแก่ผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง

 

ง. พระวินัยปิฏก (มหาวรรค มหาขันธกะ)

ศึกษาพระวินัยปิฏก (มหาวรรค มหาขันธกะ) ๑. โพธิกถา ๒. อชปาลนิโครฺธกถา ๓. มุจลินฺทกถา ๔. ราชายตนกถา ๕. พฺรหฺมายาจนกถา ๖. ปญฺจวคฺคิยกถา ๗. ปพฺพชฺชากถา ๘. มารกถา ๙. ปพฺพชฺชูปสมฺปทากถา ฯเปฯ ๖๔. จตฺตาโร นิสฺสยา ๖๕. จตฺตาริ อกรณียานิ ๖๖. อาปตฺติยา อทสฺสเน อุกฺขิตฺตกวตฺถูนิ ตสฺสุทฺทานํ

วัตถุประสงค์

  • ๑. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในพระวินัยปิฏก (มหาวรรค มหาขันธกะ) อย่างถูกต้อง สามารถสวดออกเสียงอักขระอย่างถูกต้อง รู้ความหมายและสาระสำคัญของเรื่องเหล่านั้น
  • ๒. เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และเผยแผ่ความรู้ เทศนา สั่งสอนแก่ผู้อื่นได้อย่างถูกต้องตามความสามารถ

 

๕.๒   โครงสร้างหลักสูตร และปฏิทิน  

ส่งใบสมัคร ๑๙ เม.ย. – ๖ มิ.ย. ๒๕๖๔
รายงานตัว* ๕ – ๖ มิ.ย. ๒๕๖๔
สอบสัมภาษณ์* ๗ มิ.ย. ๒๕๖๔
ประกาศผลการคัดเลือก ๘ มิ.ย. ๒๕๖๔
ภาคการศึกษาที่ ๑ ๑๐ มิ.ย. – ๒๘ ต.ค. ๒๕๖๔
ภาคการศึกษาที่ ๒ ๑๘ พ.ย. ๒๕๖๔ – ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๕

* รายงานตัวและสอบสัมภาษณ์ สำหรับนักศึกษาปกติที่ต้องการพำนักในวัดจากแดงเท่านั้น

วันเรียน: ทุกวันจันทร์ ถึง ศุกร์ หยุดวันอุโบสถ

  • ช่วงเช้า: เวลา ๙.๐๐ – ๑๐.๓๐ น.
  • ช่วงบ่าย: เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐, ๑๕.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.
ตารางเรียน ภาคการศึกษาที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๒
ช่วงเช้า ปาฬิสิกขา สัททสังเขป
ช่วงบ่าย ขุททกปาฐะ มหาวรรค

 

๕.๓   บุคคลากร

             ๕.๓.๑  ประธานโครงการ

พระราชวัชรบัณฑิต (ประนอม ธมฺมาลงฺกาโร),

โสตุชนปันตี (บาฬีไวยากรณ์ชั้นสูง) สาสนธชธัมมาจริยะ

๕.๓.๒  อาจารย์ผู้สอน

อาจารย์น้อม ดาดขุนทด

             ๕.๓.๓  คณะกรรมการดำเนินงาน

คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และอาสาสมัคร โครงการติปิฏกสิกขาลัย สถาบันโพธิยาลัย

๕.๔   คุณสมบัติของผู้สมัคร

พระภิกษุสามเณรหรือฆราวาส ต้องเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยดีงามตามพระธรรมวินัย สามารถปฏิบัติตามกฎกติกาของสถาบันได้ เป็นผู้มีความตั้งใจจริงและมีความขยันหมั่นเพียรศึกษาจนจบหลักสูตร เพื่อเป็นศาสนทายาทผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง.

  ในปีการศึกษา ๒๕๖๔ นี้  รับสมัครนักศึกษา จำนวน ๒๕ รูป/คน (ไม่นับผู้ศึกษาผ่านสื่อทางไกล)

สำหรับพระภิกษุสามเณรหรือฆราวาสผู้มีคุณสมบัติไม่ครบตามกำหนด ให้สมัครเป็นนักศึกษาสมทบ สามารถเข้ารับฟังการบรรยายในชั้นเรียน หรือทางสื่อการศึกษาทางไกลก็ได้

๖. การวัดและประเมินผล

การวัดและประเมินผลการศึกษา ด้วยผลคะแนนจากงานมอบหมาย และการทดสอบกลางภาค และปลายภาคการศึกษาทั้ง ๒ ภาค และนักศึกษาต้องไม่ขาดเรียนนานในแต่ละภาคการศึกษา

สำหรับนักศึกษาที่มีผลการเรียนแต่ละวิชา ไม่ต่ำกว่า ๕๐ คะแนน และมีผลการเรียนทุกวิชา รวมกัน ตั้งแต่ ๖๕–๗๔ คะแนน จะได้รับประกาศนียบัตร และนักศึกษาที่มีผลการเรียน ทุกวิชารวมกัน ตั้งแต่ ๗๕ คะแนน ขึ้นไป จะได้รับใบประกาศนียบัตร คุณวิสิฏฐะ (เกียรตินิยม) จากทางสถาบันพระบาฬีโพธิยาลัย

ลงทะเบียน สมัครเรียน

๑. หลักสูตรพระไตรปิฎกชั้นต้น (๑ ปี)

เรียน: ขุททกปาฐะ มหาวรรค ปาฬิสิกขา สัททสังเขป
ฐานความรู้ที่ควรมีก่อนเรียน: ไม่มี

อัพเดท รายชื่อผู้ลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว

วันที่อัพเดทข้อมูล
ชื่อ นามสกุล ฉายา
หลักสูตร
2 มิถุนายน 25641 Soutphata Xaiyavong ติกขาวิลิโยหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 25642 กานดา ลุ่มเจริญหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 25643 เกียรติทวี ชูวงศ์โกมลหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 25644 ฉวีวรรณ วิขัมภประหารหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 25645 ชลธร ภัทรเสรี บุคคลทั่วไปชหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 25646 ชัญญา โรจนนาวินหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 25647 ณัฏฐจักษณ์ อินทรเสนหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 25648 ดร.สงุ่น ตรีสุขี -หลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 25649 ดวงใจ รัตนธัญญาหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256410 ติณณภพ วรพันธ์พินิจหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256411 ทวีศักดิ์ พัดพาดีหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256412 ทศพร ศิริกร -หลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256413 ธนัส งามเธียรธนาหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256414 ธรณัส วรวิทยะกุลหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256415 น.ส. ชัชนันท์ ลีลานุชหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256416 นพพร เจริญสวัสดิ์หลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256417 นภาพร ชื่นชมหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256418 นางณัฐณิชมณฑ์ ลุ่มเจริญ 0หลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256419 นางมณีรัตน์ หาพุฒพงษ์หลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256420 นางวันดี ชีวะธนรักษ์ N/Aหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256421 นางสาวยุพดี ตั้งวุฒินันท์ -หลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256422 นายพินิตย์ พิมพาเรือหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256423 นายสุพจน์ เค้ากล้าหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256424 นายอนิรุทธ์ ทรงจักรแก้วหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256425 นาวาอากาศเอก (พิเศษ)หญิง ลักษณวิไล กลิ่นสุวรรณหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256426 ปณิดาภรณ์ กรรณเลขาหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256427 พงษ์เทพ มังคะลี มคฺคผลญาโณหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256428 พรทิพย์ อุดมสมุทรหิรัญหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256429 พระ ลำ เทบพะวงค์ อัฐธรรมโมหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256430 พระนพกร ทรัพย์ราชันย์ รชฺชธโนหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256431 พระบรรจง จิตจำนงค์ ธมฺมจิตฺโตหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256432 พระปณตพล โค้วปรีชา คุตฺตสีโลหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256433 พระปภาวิทย์ ไร่กระโทก ปุญฺญนาโคหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256434 พระพชร ทองบริบูรณ์ กิตฺติวชิโรหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256435 พระภัทรพล เถื่อนเล็ก ชุตินฺธโรหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256436 พระมหาเนตร เพชรพราว วชิธมโมหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256437 พระมหารณชัย พันธุฤกษ์ วีรชโยหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256438 พระวุทธ ทองมั่น สุเมโธหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256439 พระสัมพันธ์ สักสันเที๊ยะ กตปุญโญหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256440 พระสิริเวศย์ ลิมป์ศิลาทอง มุทุจิตฺโตหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256441 เพชรรัตน์ ภัทรวรกุลวงศ์หลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256442 เพชรวรรณ แสงทองพินิจหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256443 ภคภัทร สมสมัยหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256444 ศักดินา บุญ​เปี่ยม​หลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256445 ศิริรัตน์ กิตติวงศ์โสภณ -หลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256446 สายรุ้ง มูณีหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256447 สุนันทา กูลประดิษฐ์หลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256448 สุภัทรพงษ์ กรรณเลขาหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256449 สุมานา พรณัฐวุฒิกุลหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256450 สุรีย์ พันเจริญหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256451 เสนีย์ คุปต์กานต์หลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256452 อนงค์​ คงเจริญ​หลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256453 อภิญญา จุนวีระนงค์หลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 256454 อัครัฐ อังคณากุลหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 2564เสนีย์ คุปต์กานต์หลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 2564อนงค์​ คงเจริญ​หลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 2564อภิชัย เลิศสิริมั่นคงหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 2564อัครัฐ อังคณากุลหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น
2 มิถุนายน 2564สุเมธ พัฒนจารีตหลักสููตรพรไตรปิฎกชั้นต้น

 

เกี่ยวกับการเรียนการสอน

  • สมัครเป็นนักศึกษาปกติ พำนักในวัดจากแดง (เฉพาะภิกษุสามเณร)
  • สมัครเป็นนักศึกษาสมทบ เดินทางไป-กลับ (ภิกษุสามเณร และบุคคลทั่วไป)
  • สมัครเป็นนักศึกษาสมทบ เรียนทางสื่อออนไลน์ (ภิกษุสามเณร และบุคคลทั่วไป)

เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกโดยธรรมและวินัย และเกื้อกูลต่อการศึกษาพระปริยัติธรรมและการปฏิบัติธรรมแห่งพระภิกษุสามเณรผู้พำนักอยู่ในวัด วัดจากแดงจึงตั้งกฎระเบียบไว้ ๑๐ ข้อ ดังต่อไปนี้

  • ๑. พระภิกษุสามเณรผู้ประสงค์จะพำนักอยู่ประจำในวัด ต้องมีใบฝาก หรือใบมอบตัวจากพระอุปัชฌาย์หรือ พระอาจารย์ หรือเจ้าอาวาสของตน และสำเนาหนังสือสุทธิ และ/หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเท่านั้น
  • ๒. พระภิกษุสามเณรอาคันตุกะผู้ประสงค์เข้ามาพำนักอยู่ในวัด ต้องแสดงหนังสือสุทธิ และ/หรือบัตรประจำตัวประชาชน ลงทะเบียนรายชื่อต่อเจ้าอาวาสหรือพระภิกษุผู้เป็นเสนาสนคาหาปกะ และอนุญาตให้พักอยู่ได้ไม่เกิน ๗ วัน เว้นแต่มีเหตุจำเป็น
  • ๓. พระภิกษุสามเณรผู้พำนักอยู่ประจำในวัด ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบต่าง ๆ ของวัด อย่างเคร่งครัด เช่น การฉันภัตตาหารเช้าและเพล เมื่อรับภัตตาหารแล้ว ต้องนั่งฉันและให้พรที่หอฉันเท่านั้น เว้นแต่มีเหตุจำเป็น เช่น อาพาธ เป็นต้น เพื่ออนุเคราะห์แก่เจ้าภาพและเพื่อความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์
  • ๔. ห้ามเสพสิ่งเสพติดทุกชนิดโดยเด็ดขาด หากรูปใดล่วงละเมิดย่อมมีโทษตามลำดับ คือ ครั้งที่ ๑ ตักเตือน ครั้งที่ ๒ ตักเตือนและลงทัณฑ์บน ครั้งที่ ๓ หากเลิกละไม่ได้ จะพิจารณาให้ย้ายออกจากวัด
  • ๕. เพื่อการรักษาวินัยให้บริสุทธิ์ พระภิกษุมีวัตถุที่เป็นนิสสัคคีย์ ให้สละของนั้นแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล แล้วปลงอาบัติ หากเป็นเงินและทองให้นำไปสละไว้แก่ไวยาวัจกรหรือเจ้าหน้าที่การเงินของวัด เมื่อต้องการสิ่งของอันควรแก่สมณะบริโภค ให้แจ้งความประสงค์แก่ไวยาวัจกรหรือเจ้าหน้าที่การเงินของวัด
  • ๖. ควรมีความเอื้อเฟื้อต่อธรรมและวินัย เพื่อพัฒนาตนให้เป็นบุคลากรผู้สมบูรณ์ด้วยปริยัติและปฏิบัติ เป็นศาสนทายาทผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา อย่างแท้จริง
  • ๗. ควรตั้งใจศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างเคารพ ควรท่องแบบหรือสูตรให้ได้ก่อนเข้าเรียน ตั้งใจฟังครูอธิบายขณะเรียน หมั่นทบทวนบทเรียนอย่างสม่ำเสมอ และควรใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  • ๘. ควรร่วมทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ทำวัตรสวดมนต์ บิณฑบาต กวาดวัด เป็นต้น อย่างสม่ำเสมอ เว้นแต่มีเหตุจำเป็น
  • ๙. ควรฝึกตนให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ทั้งส่วนตนคือการศึกษาเล่าเรียนและการปฏิบัติสมณธรรม ทั้งส่วนรวมคือการรับอาสาช่วยงานสงฆ์ตามสมควร
  • ๑๐. เมื่อศึกษาจบหลักสูตรของทางวัดแล้ว ต้องปฏิบัติศาสนกิจ เช่น การสอน การเทศนาอบรม การทำสื่อการเรียนการสอนและเผยแผ่ หรือกิจต่าง ๆ ที่ทางวัดมอบหมาย ในวัดจากแดงหรือวัดสาขา เป็นเวลาอย่างน้อย ๑ ปี เว้นแต่มีเหตุจำเป็น

*พระภิกษุสามเณรผู้ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ๑๐ ข้อ เหล่านี้ ย่อมกระทำความผาสุกให้เกิดแก่สงฆ์ และกระทำความเกื้อกูลต่อการศึกษาและปฏิบัติแก่ตนและหมู่คณะ ย่อมเป็นผู้สมควรพำนักอยู่ในวัดจากแดงนี้

ผู้ประสงค์เข้าศึกษาหลักสูตรพระไตรปิฎกชั้นต้น ณ วัดจากแดง ที่อ่านอักษรบาลีได้ พึงทรงจำเนื้อหาต่อไปนี้ ก่อนเข้าศึกษา

  1. ปุริส-สทฺทปทมาลา
  2. จิตฺต-สทฺทปทมาลา
  3. กญฺญา-สทฺทปทมาลา

ปุริส-สทฺทปทมาลา (บุรุษ, บุคคล)

เอกวจน พหุวจน
ปฐมา ปุริโส ปุริสา
อาลปน โภ ปุริส, ปุริสา ภวนฺโต ปุริสา
ทุติยา ปุริสํ ปุริเส
ตติยา ปุริเสน ปุริเสหิ, ปุริเสภิ
จตุตฺถี ปุริสสฺส ปุริสานํ
ปญฺจมี ปุริสา, ปุริสมฺหา, ปุริสสฺมา ปุริเสหิ, ปุริเสภิ
ฉฏฺฐี ปุริสสฺส ปุริสานํ
สตฺตมี ปุริเส, ปุริสมฺหิ, ปุริสสฺมึ ปุริเสสุ

 

จิตฺต-สทฺทปทมาลา (จิต)

เอกวจน พหุวจน
ปฐมา จิตฺตํ จิตฺตา, จิตฺตานิ
อาลปน โภ จิตฺต, จิตฺตา ภวนฺตานิ จิตฺตา, จิตฺตานิ
ทุติยา จิตฺตํ จิตฺเต, จิตฺตานิ
ตติยา จิตฺเตน จิตฺเตหิ, จิตฺเตภิ
จตุตฺถี จิตฺตสฺส จิตฺตานํ
ปญฺจมี จิตฺตา, จิตฺตมฺหา, จิตฺตสฺมา จิตฺเตหิ, จิตฺเตภิ
ฉฏฺฐี จิตฺตสฺส จิตฺตานํ
สตฺตมี จิตฺเต, จิตฺตมฺหิ, จิตฺตสฺมึ จิตฺเตสุ

 

กญฺญา-สทฺทปทมาลา (สาวน้อย)

เอกวจน พหุวจน
ปฐมา กญฺญา กญฺญา, กญฺญาโย
อาลปน โภติ กญฺเญ โภติโย กญฺญา, กญฺญาโย
ทุติยา กญฺญํ กญฺญา, กญฺญาโย
ตติยา กญฺญาย กญฺญาหิ, กญฺญาภิ
จตุตฺถี กญฺญาย กญฺญานํ
ปญฺจมี กญฺญาย กญฺญาหิ, กญฺญาภิ
ฉฏฺฐี กญฺญาย กญฺญานํ
สตฺตมี กญฺญาย, กญฺญายํ กญฺญาสุ

หนังสือประกอบการศึกษาพระไตรปิฎกชั้นต้น

ภาคเรียนที่ ๑ /๒๕๖๔

๑. วิชา ปาฬิสิกขา


๒. วิชา ขุททกปาฐะ


๓. หนังสืออ่านประกอบและเอกสารประกอบการเรียน


หนังสือประกอบการศึกษาพระไตรปิฎกชั้นต้น

ภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๔

๑. วิชาสัททสังเขป นามคณะย่อและสัพพนามคณะ


๒. วิชาธรรมบทอรรถกถา (เรื่องสั้น ๆ ๑๕ เรื่อง)

 


โพสที่คล้ายกัน:

หลักสูตรพระไตรปิฎกชั้นต้น (๑ ปี)