ติดตั้ง Boom ทุ่นกักขยะ แก้ปัญหา ขยะลอยน้ำ แม่น้ำเจ้าพระยา

ติดตั้ง Boom ทุ่นกักขยะ และ เก็บข้อมูลเพื่อ แก้ปัญหา ขยะลอยน้ำ ใน แม่น้ำเจ้าพระยา โดย คุณบุรินทร์ เหมทัต ผู้ดำเนินรายการ Weekend เจอนี่ ได้เผยแพร่เรื่องนี้ผ่านทาง YouTube ช่อง Burin Journey (Journey to Sustainability Channel) เป็นรายการที่เล่าเรื่องราวน่าสนใจเกี่ยว ความยั่งยืน หรือ stability ทั้งภายในประเทศไทย และต่างประเทศ  โดยในครั้งนี้เป็นการเล่าถึง โครงการจัดการขยะลอยน้ำ บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา โดย ทุ่นกักขยะ (BOOM)  เป็นอีกแนวทางในการมือกันจัดการปัญหาขยะลอยน้ำ ของ 3 องค์กร ได้แก่ บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ  กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) โดยสำนักงาน ทช.ที่ 2 (ชลบุรี) และ ศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อม วัดจากแดง เพื่อลดปริมาณขยะก่อนออกสู่ท้องทะเล  ด้วยการสร้างความร่วมมือในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม สร้าง ความยั่งยืน ให้กับ แม่น้ำเจ้าพระยา ตลอดไป กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับบริษัทมั่นคงเคหะการจำกัด

โครงการจัดการขยะลอยน้ำ บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยทุ่นกักขยะ (BOOM) 

ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาขยะที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และ มันยังไหลลงทะเล อีกด้วย จึงทำให้เกิดการรวมตัวกันเพื่อบริหารจัดการ ขยะบก ไม่ให้ไหลสู่ทะเล โดยเป็นการร่วมมือกันระหว่าง ภาครัฐ เอกชน และ วัด คือ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับบริษัทมั่นคงเคหะการจำกัด มหาชน และวัดจากแดง ที่ บางกระเจ้า ร่วมกันดำเนินโครงการศึกษาและบริหารจัดการขยะลอยน้ำ บริเวณปากแม่น้ำ โดยใช้ ทุ่นดักขยะ หรือที่เรียกว่า BOOM ติดตั้งไว้ที่บริเวณ ท่าน้ำ วัดจากแดง มีความยาวทั้งสิ้น 20 เมตร และจะเริ่มทดสอบการเก็บขยะที่ลอยมาติดในระยะแรก และเก็บทุกวันติดต่อกัน 3 วัน หลังจากนั้นจะเก็บประมาณสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อเก็บข้อมูลขยะที่คัดแยกได้ ว่ามีปริมาณแต่ละประเภท จำนวนเท่าไหร่ และข้อมูลอื่น ๆ ตามค่ามาตรฐานการบันทึกของ ICC (ค่าเรียกประเภทของขยะทะเล) ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาใช้เป็นต้นแบบ ในการบริหารจัดการขยะลอยน้ำ ในแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนขยะที่เก็บได้ ก็จะนำไปจัดการด้วยรูปแบบ 3 วิธี  คือ Reduce, Reuse, Repair จากนั้น ก็จะนำเรื่องราวเหล่านี้ เผยแพร่รณรงค์ให้กับประชาชนทั่วไป ในการดูแลแม่น้ำเจ้าพระยา ใส่ใจเรื่องของการทิ้งขยะ การปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำ การสร้างความมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นต้น

พระทิพากร ทุ่นลอยน้ำ ดักขยะ

พระทิพากร อริโย พระนักพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า:

วัดจากแดง มีโครงการที่จะทำประโยชน์ในเรื่องของการศึกษาข้อมูลขยะในแม่น้ำ โดยใช้ทุ่นเก็บขยะ โดยเราจะได้นำข้อมูลจากการเก็บขยะขึ้นมานับจำนวน คัดแยก บันทึกเป็นข้อมูล ส่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อจะเข้าสู่กระบวนการจัดการขยะข้อที่ 1 ก็คือการลดขยะ Reduce 

ประการที่ 1 คือ ตอนนี้เรารู้แล้วว่า ต้นทางของการมีขยะตกค้างขึ้นมาก็คือ การที่เราสร้างสิ่งที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้ วันนี้ถ้าเรามีข้อมูลว่า มีขวด มีขยะอะไรบ้าง จำนวนเท่าไหร่ มันก็จะเป็นตัวเลขที่สะท้อนกลับไปยังผู้ผลิตได้พิจารณาว่า จะทำยังไงให้ขยะเหล่านี้ลดลง 

ประการที่ 2 พิจารณาขยะที่เก็บมาแล้ว จะนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้ นอกจากการที่ต้องเอาไปทิ้งฝังกลบ กลายเป็นการสร้างภาระให้กับคนอื่น ๆ หรือคนรุ่นหลัง ดังนั้นกระบวนการ รีไซเคิล Recycle จะสามารถนำเอาขยะเหล่านั้นกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง เช่น วัดจากแดง ได้มีโครงการนำพลาสติกที่เก็บได้จากในแม่น้ำ แปรรูปเป็นพลาสวูด วัสดุที่ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อใช้ทดแทนไม้ที่ประกอบด้วยเรซินเชื่อมติดกับวัสดุเศษไม้ ให้กลายเป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างได้

ประการที่ 3 คือ การรีแพร์ หรือ การซ่อม ซึ่งขยะบางอย่างที่ลอยน้ำมา สามารถนำมาซ่อมใช้งานใหม่ได้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เศษไม้ลอยน้ำก็สามารถนำมาเป็นส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของวัสดุที่เราจะซ่อมแซมได้ 

ทุ่นดักขยะ แม่น้ำเจ้าพระยา

ข้อมูลการจัดเก็บเหล่านี้จะถูกนำส่งส่งให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการนี้ นำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ส่วนวัสดุที่ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้เลย ก็จะถูกคัดแยกออกไปเป็นวัสดุให้ความร้อน ดังนั้น โครงการความร่วมมือในการบริหารจัดการขยะนี้ จะสร้างประโยชน์ให้หลายด้าน


จัดการด้วยรูปแบบ 3 วิธี  คือ Reduce, Reuse, Repair :

ลดการสร้างขยะ Reduce

อย่าสร้างขยะโดยไม่จำเป็น ตัวอย่าง:

  • – ใช้ขวดรีฟิลแทนการซื้อภาชนะเครื่องดื่มแบบใช้ครั้งเดียว
  • – พิมพ์เอกสารด้วยกระดาษนำกลับมาใช้ให้ครบทั้งสองด้าน
  • – ใช้ถุงผ้าเมื่อไปซื้อของที่ร้านค้า ปฏิเสธไม่ใส่กระดาษและพลาสติก

นำกลับมาใช้ซ้ำ Reuse

ใช้วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ ที่คุณสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ก่อนที่คุณจะนำไปทิ้ง หรือ รีไซเคิล ตัวอย่าง:

  • – แบ่งปันเสื้อผ้า และ ของเล่นที่ใช้แล้ว แก่เพื่อน และครอบครัว
  • – บริจากเสื้อผ้า ของเล่น ขวดน้ำ ฝา ฉลาก ให้กับจุดรับบริจาค

ซ่อมแซม Repair

ให้ซ่อมแซมก่อนทิ้ง หรือซื้อใหม่ ตัวอย่าง:

  • – ปะเย็บเสื้อผ้า หรือถุงผ้าที่ขาด ให้กลับมาใช้ได้อีกครั้ง
  • – ซ่อมเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ที่ยังมีสภาพใช้งาน ในรูปลักษณ์ใหม่

ติดตามข่าวสารของ บุรินทร์เจอนี่ได้ที่:


โพสที่คล้ายกัน:

ติดตั้ง Boom ทุ่นกักขยะ แก้ปัญหา ขยะลอยน้ำ แม่น้ำเจ้าพระยา