หลักสูตรธัมมาจริยะ (๒ ปี)

 

คลิกดูถ่ายทอดสดจากเพจ

รอบเช้า เวลา ๐๙.๐๐ น. รอบบ่าย เวลา ๑๓.๐๐ น.

โครงการศึกษาพระไตรปิฎก หลักสูตรธัมมาจริยะ (๒ ปี) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ อาจารย์ผู้สอน พระมหาซอ ชวนาลงฺการาภิวํโส (อูซอ จันทสาโร), สามเณจ่อ ปถมจ่อ วฏังสกา ธรรมาจริยะ สมัครออนไลน์ หรือ สมัครด้วยตนเองได้ที่ สถาบันโพธิยาลัยวัดจากแดง ๑๖ หมู่ ๖ ถ.เพชรหึงษ์ ซ.เพชรหึงษ์ ๑๐ ต.ทรงคนอง อ.พระประแดงจ.สมุทรปราการ ๑๐๑๓๐ ติดต่อสอบถามได้ที่ : ๐๙๘-๕๕๑-๖๒๘๓,  LINE ID: tipitakasikkhalai หรือทางอีเมล์: [email protected]  

*วีดีโอบันทึกการเรียนการสอน หลักสูตรชั้นธัมมาจริยะ

*วีดีโอบันทึกการเรียนการสอน หลักสูตรชั้นธัมมาจริยะ วิชา ปาราชิก สีลักขันธวรรค ธัมมสังคณี. ปาฬิและอัฏฐกถา

หลักสูตรชั้นธัมมาจริยะ วิชา ปาราชิก สีลักขันธวรรค ธัมมสังคณี. ปาฬิและอัฏฐกถา

*วีดีโอบันทึกการเรียนการสอน วิชาพระวินัยปาราชิกกัณฑ์

หลักสูตรชั้นธัมมาจริยะ วิชาพระวินัยปาราชิกกัณฑ์

*วีดีโอบันทึกการเรียนการสอน หลักสูตรชั้นธัมมาจริยะ วิชาพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลักขันธวรรค

หลักสูตรชั้นธัมมาจริยะ วิชาพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลักขันธวรรค

*วีดีโอบันทึกการเรียนการสอน หลักสูตรชั้นธัมมาจริยะ วิชาอภิธรรปิฎก ธรรมสังคณี พร้อมทั้งอรรถกถาและฎีกา

หลักสูตรชั้นธัมมาจริยะ วิชาอภิธรรปิฎก ธรรมสังคณี พร้อมทั้งอรรถกถาและฎีกา

——โปรดติดตามตอนต่อไป——-

๑. ชื่อโครงการ

  • โครงการศึกษาพระไตรปิฎก หลักสูตรธัมมาจริยะ (๒ ปี)

๒. หลักการและเหตุผล

พระไตรปิฎก คือ คัมภีร์ที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกอบด้วยพระวินัยปิฎก ที่ประมวลพระพุทธบัญญัติเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติ ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิตและวิธีดำเนินกิจการต่าง ๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ พระสุตตันตปิฎก ที่ประมวลพระพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาและธรรมบรรยายต่าง ๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคล เหตุการณ์ และโอกาส และพระอภิธรรมปิฎก ที่ประมวลคำสอนที่เป็นเนื้อหาหรือหลักวิชาล้วน ๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์

พระไตรปิฎกนี้จัดเป็นปริยัติสัทธรรม ซึ่งเป็นฐานรากไปสู่ปฏิบัติสัทธรรมและปฏิเวธสัทธรรมต่อไป เมื่อปริยัติอันตรธานไป ปฏิบัติก็ย่อมอันตรธานไป เมื่อปริยัติคงอยู่ ปฏิบัติก็คงอยู่ ฉะนั้น ปริยัติสัทธรรมจึงชื่อว่าเป็นอายุพระพุทธศาสนา ซึ่งการรักษาสืบทอดพระพุทธศาสนาเป็นหน้าที่โดยตรงของสถาบันสงฆ์ที่จะต้องผลิตพระภิกษุสามเณรที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งส่งเสริมพระภิกษุสามเณรที่มีอยู่ในปัจจุบันให้พรั่งพร้อมด้วยความรู้ความสามารถประสบผลสำเร็จในการศึกษาปริยัติสัทธรรม

แต่ในปัจจุบัน การศึกษาปริยัติสัทธรรมของคณะสงฆ์ไทย ได้ปรับเปลี่ยนจากสมัยก่อนเป็นอันมาก กล่าวคือมิได้นำพระไตรปิฎกบาฬี พร้อมอรรถกถา และฎีกา เป็นต้น มาเป็นหลักในการเรียนการสอน เพราะขาดแคลนบุคลากรผู้แตกฉานด้านคัมภีร์สัททาวิเสส (หลักบาฬีไวยากรณ์ชั้นสูง) และผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก และการศึกษาก็อาศัยพระไตรปิฎกภาษาไทยเพียงอย่างเดียว จึงทำให้เกิดปัญหาการตีความพระธรรมวินัยคลาดเคลื่อน ผิดเพี้ยนไป ส่งผลเสียต่อสังคมชาวพุทธเป็นวงกว้าง

ด้วยเหตุนี้ สถาบันพระบาฬีโพธิยาลัยวัดจากแดง นำโดย พระราชวัชรบัณฑิต (ประนอม ธมฺมาลงฺกาโร) ได้เห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้ริเริ่มจัด โครงการศึกษาพระไตรปิฎก หลักสูตรธัมมาจริยะ (๒ ปี) ขึ้น เพื่อจัดการเรียนการสอนนัยยะในพระไตรปิฎกควบคู่ไปกับการเชื่อมโยงองค์ความรู้จากคัมภีร์ชั้นอรรถกถาและฎีกา และเปิดโอกาสให้พระภิกษุสามเณรผู้สนใจได้ศึกษาเล่าเรียน โดยมุ่งหวังว่าจะสามารถผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในพระไตรปิฎก  และรักษาสืบทอดพระพุทธศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้คงอยู่สืบไป

๓. วัตถุประสงค์

  • ๑. เพื่อให้ผู้ศึกษามีความรู้ความเข้าใจในพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก อย่างถูกต้อง
  • ๒. เพื่อให้ผู้ศึกษามีความสามารถในการค้นคว้าพระไตรปิฎก เชื่อมโยงกับอรรถกถา และฎีกา ตลอดจนสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตรงตามพระไตรปิฎก
  • ๓. เพื่อผลิตบุคลากรและครู อาจารย์ ผู้บริบูรณ์ด้วยความรู้และคุณธรรม มีความสามารถในการเผยแผ่และสั่งสอนพระพุทธศาสนาได้ตรงตามพระไตรปิฎก

๔. สถานที่ดำเนินงาน

  • สถาบันโพธิยาลัยวัดจากแดง ๑๖ หมู่ ๖ ถนนเพชรหึงษ์ ซอยเพชรหึงษ์ ๑๐ ตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐ โทรศัพท์: ๐๒-๔๖๔-๑๑๒๒

๕. รายละเอียดหลักสูตร

๕.๑   หลักสูตร

หลักสูตรธัมมาจริยะ คือการเรียนวิเคราะห์เจาะลึกหาองค์ธรรม สภาวธรรม จากพระไตรปิฎก โดยใช้เครื่องมือ คือ อรรถกถา ฎีกา นิสสยะ ไวยากรณ์ สังวรรณนา เนตติปกรณ์ อุปจาระ นัยยะ เป็นต้น เพื่อเข้าถึงความลึกซึ้ง ๔ ประการ คือ โดยอรรถ โดยธรรม โดยเทศนา และโดยปฏิเวธ เพื่อเห็นความงามของพระปริยัติสัทธรรม ปฏิบัติสัทธรรม และปฏิเวธสัทธรรม แล้วน้อมสู่การปฏิบัติ เพื่อใช้ในชีวิตจริง เพื่อรักษา เพื่อสืบทอดวิธีการของโบราณจารย์   หลักสูตรธัมมาจริยะ ประกอบด้วย ๓ รายวิชา คือ

  • ๑. พระวินัยปิฎก (ปาราชิกปาฬิและปาราชิกกัณฑอัฏฐกถา)
  • ๒. พระสุตตันตปิฎก (สีลักขันธวัคคปาฬิและสีลักขันธวัคคอัฏฐกถา)
  • ๓. พระอภิธรรมปิฎก (ธัมมสังคณีปาฬิและอัฏฐสาลินีอัฏฐกถา)

ในแต่ละรายวิชา พระอาจารย์ผู้สอน จะมิได้สอนเนื้อหา ในคัมภีร์ทั้งหมด แต่จะให้นัยในการเข้าถึงคัมภีร์ ๑๐ ข้อ โดยจะใช้ภาษาไทยในการดำเนินการสอน

ข้อ เวลา พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม
  (เดือน) ปาราชิก สีลกฺขนฺธวคฺค อฏฺฐสาลินี
๑.๕ แปล ๑๐๐+ นัย
วากฺยสมฺพนฺธ
– แยก วากฺย

– ตั้งชื่อ วากฺย

– ปทสมฺพนฺธ

– โจทกาโภคาทิจตุกฺก

– ตำแหน่งการวาง
กิญฺจาปิ, ตถาปิ

– ตำแหน่งการวาง อถ วา,
เตน, ตสฺมา, เกน, กสฺมา- โทสปฺปเภท- วิธีการละ โทส
๑.๕ วิเคราะห์องค์ธรรม

ตามนฺยาสคัมภีร์

– วิเคราะห์
– วจนาทิฉกฺก
– วิเคราะห์
– พฺยุปฺปตฺติจตุกฺก
๐.๒๕ ธาตุ ธาตฺวตฺถ ปจฺจย ปจฺจยตฺถ
วิภตฺติ ลิงฺค คณ การก อการก
เหตุสมฺพนฺธ ภาวสมฺพนฺธ

– ใส่ สมฺพนฺธ
– แยก สมฺพนฺธ
– เปลี่ยนเป็น เหตุปาฐ

(คล้ายปาราชิก)
๑.๕ อาโภค และ สํวณฺณนา
ปทวินิจฺฉย ตามไวยากรณ์ต่าง ๆ
อรรถกถา ฎีกา นิสฺสยอาจารย์
ว่า รูปไหนสมควร ไม่สมควร
หรือ สมควรกว่า
– นิรุตฺตินย
– วิปฺปลฺลาสนย
– อรรถของนิบาต

– อรรถของ เอว ๓ นย

– อรรถของ ต ๓ นย

นย และ อุปจาร

 

 

อธิบายจากบาฬี
อรรถกถา ฎีกา
– หาองค์ธรรม
– กิริยา ๕ เช่น ทสฺสนตฺถ
– ตำแหน่งการวาง ทฏฺฐพฺพํ,
เวทิตพฺพํ, สิทฺธํ
แต่งบาลีที่เป็น จุณณิยะ

 

แต่งคาถา, ตั้งชื่อคาถา,
พิจารณาฉันท์
ลกฺขณาทิจตุกฺก
๑๐ เนตฺติปฺปกรณ

 

สุโพธาลงฺการ กัณฑ์ที่ ๕ ปทสมฺพนฺธ ตามปฏฺฐานนย
โดยหา ปจฺจย, ปจฺจยุปฺปนฺน,
อุปการ, ปจฺจยสตฺติ

๕.๒   โครงสร้างหลักสูตร และปฏิทิน  

ส่งใบสมัคร ๑๖ เม.ย. – ๖ มิ.ย. ๒๕๖๔
รายงานตัว* ๕ – ๖ มิ.ย. ๒๕๖๔
สอบสัมภาษณ์* ๗ มิ.ย. ๒๕๖๔
ประกาศผลการคัดเลือก ๘ มิ.ย. ๒๕๖๔
ภาคการศึกษาที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๔

เรียนข้อ ๑-๓ (บางส่วน)

๑๐ มิ.ย. – ๒๘ ต.ค. ๒๕๖๔
ภาคการศึกษาที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔

เรียนข้อ ๓-๕

๑๘ พ.ย. ๒๕๖๔ – ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๕
ภาคการศึกษาที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕

เรียนข้อ ๖-๘

๕ พ.ค. – ๒๐ ต.ค. ๒๕๖๕
ภาคการศึกษาที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๕

เรียนข้อ ๙-๑๐

๑๗ พ.ย. ๒๕๖๕ – ๓๐ มี.ค. ๒๕๖๖
  • * รายงานตัวและสอบสัมภาษณ์ สำหรับนักศึกษาปกติที่ต้องการพำนักในวัดจากแดงเท่านั้น
  • วันเรียน: ทุกวันจันทร์ ถึง พฤหัสบดี หยุดวันอุโบสถ
  • เวลาเรียน: ๙.๐๐ – ๑๐.๓๐, ๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐, ๑๕.๐๐ – ๑๖.๑๕ น.
  • การจับกลุ่มแปลคัมภีร์: ช่วงก่อนเข้าเรียน หลังเลิกเรียน และ/หรือ ในวันหยุด ตามตกลงกัน

๕.๓   บุคคลากร

พระมหาซอ ชวนาลงฺการาภิวํโส (อูซอ จันทสาโร), สามเณจ่อ ปถมจ่อ วฏังสกา ธรรมาจริยะ

๕.๓.๑  อาจารย์ผู้สอน

  • พระมหาซอ ชวนาลงฺการาภิวํโส (อูซอ จันทสาโร), สามเณจ่อ ปถมจ่อ วฏังสกา ธรรมาจริยะ

๕.๓.๒  ประธานโครงการ

พระราชวัชรบัณฑิต (ประนอม ธมฺมาลงฺกาโร) เจ้าอาวาสวัดจากแดง

๕.๓.๓  คณะกรรมการดำเนินงาน

คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และอาสาสมัคร โครงการติปิฏกสิกขาลัย สถาบันโพธิยาลัย

๕.๔   คุณสมบัติของผู้สมัคร

  • ๑. สำเร็จการศึกษาคัมภีร์ปทรูปสิทธิ ปทวิจาร และอภิธัมมัตถสังคหะ
  • ๒. ก่อนเรียน สามารถท่องจำสังวรรณนานิยาม อุปจาร และ หาร ตามกำลัง เท่าที่ได้แต่เมื่อได้เรียนแล้ว สามารถท่องจำได้ตามที่กำหนดไว้
  • ๓. สำหรับพระภิกษุสามเณร ต้องเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยดีงามตามพระธรรมวินัย สามารถปฏิบัติตามกฎกติกาของสถาบันได้ เป็นผู้มีความตั้งใจจริงและมีความขยันหมั่นเพียรศึกษาจนจบหลักสูตร เพื่อเป็นศาสนทายาทผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง.

ในปีการศึกษา ๒๕๖๔ นี้  รับสมัครนักศึกษา จำนวน ๒๕ รูป (ไม่นับผู้ศึกษาผ่านสื่อทางไกล)

สำหรับพระภิกษุสามเณรหรือฆราวาสผู้มีคุณสมบัติไม่ครบตามกำหนด ให้สมัครเป็นนักศึกษาสมทบ สามารถเข้ารับฟังการบรรยายในชั้นเรียน หรือทางสื่อการศึกษาทางไกลก็ได้

๖. การวัดและประเมินผล

  • ด้วยการทำรายงาน สำหรับรายละเอียดจะแจ้งให้ทราบต่อไป

การสมัครเรียน (ปิดรับแล้ว)

หลักสูตรธัมมาจริยะ (๒ ปี) เปิดเรียนแล้วเมื่อ ๑ ก.ค. ๒๕๖๔

 

เกี่ยวกับการเรียนการสอน

  • สมัครเป็นนักศึกษาปกติ พำนักในวัดจากแดง (เฉพาะภิกษุสามเณร)
  • สมัครเป็นนักศึกษาสมทบ เดินทางไป-กลับ (ภิกษุสามเณร และบุคคลทั่วไป)
  • สมัครเป็นนักศึกษาสมทบ เรียนทางสื่อออนไลน์ (ภิกษุสามเณร และบุคคลทั่วไป)

เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกโดยธรรมและวินัย และเกื้อกูลต่อการศึกษาพระปริยัติธรรมและการปฏิบัติธรรมแห่งพระภิกษุสามเณรผู้พำนักอยู่ในวัด วัดจากแดงจึงตั้งกฎระเบียบไว้ ๑๐ ข้อ ดังต่อไปนี้

  • ๑. พระภิกษุสามเณรผู้ประสงค์จะพำนักอยู่ประจำในวัด ต้องมีใบฝาก หรือใบมอบตัวจากพระอุปัชฌาย์หรือ พระอาจารย์ หรือเจ้าอาวาสของตน และสำเนาหนังสือสุทธิ และ/หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเท่านั้น
  • ๒. พระภิกษุสามเณรอาคันตุกะผู้ประสงค์เข้ามาพำนักอยู่ในวัด ต้องแสดงหนังสือสุทธิ และ/หรือบัตรประจำตัวประชาชน ลงทะเบียนรายชื่อต่อเจ้าอาวาสหรือพระภิกษุผู้เป็นเสนาสนคาหาปกะ และอนุญาตให้พักอยู่ได้ไม่เกิน ๗ วัน เว้นแต่มีเหตุจำเป็น
  • ๓. พระภิกษุสามเณรผู้พำนักอยู่ประจำในวัด ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบต่าง ๆ ของวัด อย่างเคร่งครัด เช่น การฉันภัตตาหารเช้าและเพล เมื่อรับภัตตาหารแล้ว ต้องนั่งฉันและให้พรที่หอฉันเท่านั้น เว้นแต่มีเหตุจำเป็น เช่น อาพาธ เป็นต้น เพื่ออนุเคราะห์แก่เจ้าภาพและเพื่อความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์
  • ๔. ห้ามเสพสิ่งเสพติดทุกชนิดโดยเด็ดขาด หากรูปใดล่วงละเมิดย่อมมีโทษตามลำดับ คือ ครั้งที่ ๑ ตักเตือน ครั้งที่ ๒ ตักเตือนและลงทัณฑ์บน ครั้งที่ ๓ หากเลิกละไม่ได้ จะพิจารณาให้ย้ายออกจากวัด
  • ๕. เพื่อการรักษาวินัยให้บริสุทธิ์ พระภิกษุมีวัตถุที่เป็นนิสสัคคีย์ ให้สละของนั้นแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล แล้วปลงอาบัติ หากเป็นเงินและทองให้นำไปสละไว้แก่ไวยาวัจกรหรือเจ้าหน้าที่การเงินของวัด เมื่อต้องการสิ่งของอันควรแก่สมณะบริโภค ให้แจ้งความประสงค์แก่ไวยาวัจกรหรือเจ้าหน้าที่การเงินของวัด
  • ๖. ควรมีความเอื้อเฟื้อต่อธรรมและวินัย เพื่อพัฒนาตนให้เป็นบุคลากรผู้สมบูรณ์ด้วยปริยัติและปฏิบัติ เป็นศาสนทายาทผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา อย่างแท้จริง
  • ๗. ควรตั้งใจศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างเคารพ ควรท่องแบบหรือสูตรให้ได้ก่อนเข้าเรียน ตั้งใจฟังครูอธิบายขณะเรียน หมั่นทบทวนบทเรียนอย่างสม่ำเสมอ และควรใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  • ๘. ควรร่วมทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ทำวัตรสวดมนต์ บิณฑบาต กวาดวัด เป็นต้น อย่างสม่ำเสมอ เว้นแต่มีเหตุจำเป็น
  • ๙. ควรฝึกตนให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ทั้งส่วนตนคือการศึกษาเล่าเรียนและการปฏิบัติสมณธรรม ทั้งส่วนรวมคือการรับอาสาช่วยงานสงฆ์ตามสมควร
  • ๑๐. เมื่อศึกษาจบหลักสูตรของทางวัดแล้ว ต้องปฏิบัติศาสนกิจ เช่น การสอน การเทศนาอบรม การทำสื่อการเรียนการสอนและเผยแผ่ หรือกิจต่าง ๆ ที่ทางวัดมอบหมาย ในวัดจากแดงหรือวัดสาขา เป็นเวลาอย่างน้อย ๑ ปี เว้นแต่มีเหตุจำเป็น

*พระภิกษุสามเณรผู้ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ๑๐ ข้อ เหล่านี้ ย่อมกระทำความผาสุกให้เกิดแก่สงฆ์ และกระทำความเกื้อกูลต่อการศึกษาและปฏิบัติแก่ตนและหมู่คณะ ย่อมเป็นผู้สมควรพำนักอยู่ในวัดจากแดงนี้

ประสงค์เข้าศึกษาหลักสูตรธัมมาจริยะ ณ วัดจากแดง
พึงทรงจำเนื้อหาต่อไปนี้ ตามกำลังเท่าที่ได้ (แต่เมื่อได้เรียนแล้ว สามารถทรงจำได้ทั้งหมด)

  • สํวณฺณณานิยาม (สมาส, ตทฺธิต, กิต, ปกิณฺณก)
  • อุปจาร 12
  • เนตฺติหาร 16

 

สมาสสํวณฺณนานิยาม

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็น อัพยยีภาวสมาส
    • ถ้าบทตั้งเป็นสมาสที่ประกอบด้วยอุปสัคหรือนิบาต ส่วนบทขยายเป็นบทสลับกัน แสดงว่าบทตั้งเป็น อัพยยีภาวสมาส

ตัวอย่าง. อุปสฺสุตินฺติ สุติสมีปํ (กงฺขา 284).

บทว่า อุปสฺสุตึ คือ ซึ่งที่ใกล้แห่งเสียง

  • ถ้าบทตั้งเป็นสมาส ส่วนบทขยาย

ตัวอย่าง. อนุ อนุ อฑฺฒมาสํ​ อนฺวฑฺฒมาสํ, อฑฺฒมาเส อฑฺฒมาเสติ อตฺโถ (กงฺขา. นวฏี 155).

ทุก ๆ กึ่งเดือน ชื่อว่า อนฺวฑฺฒมาส, หมายความว่า ทุก ๆ กึ่งเดือน.

  • ถ้าบทตั้งเป็นสมาส ส่วนบทขยายเป็นวิจฉาบท แสดงว่าบทตั้งเป็น อัพยยีภาวสมาส

ตัวอย่าง. อนฺวฑฺฒมาสนฺติ อฑฺฒมาเส อฑฺฒมาเส (วิ.อฏฺ. 2/323, กงฺขา. 436).

บทว่า อนฺวฑฺฒมาสํ คือ ทุก ๆ กึ่งเดือน.

  • ถ้าบทตั้งเป็นสมาสที่มีอัพยยศัพท์อยู่หน้า ส่วนบทขยายแสดงอรรถวิภัตติของอัพยยศัพท์ แสดงว่าบทตั้งเป็นอัพยยีภาวสมาส

ตัวอย่าง. อชฺฌตฺตํ เจโตสมถมนุยุตฺโตติ อตฺตโน จิตฺตสมเถ ยุตฺโต (ม.อฏฺ. 1/169, อํ.อฏฺ. 3/357).

ปาฐะว่า อชฺฌตฺตํ เจโตสมถมนุยุตฺโต ความว่า ผู้ประกอบในความสงบแห่งจิตของตน.

 

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็น กัมมธารยสมาส
    • ถ้าบทตั้งเป็นสมาส ส่วนบทขยายมีวิภัตติเดียวกัน แสดงว่าบทตั้งเป็นกัมมธารยสมาส

ตัวอย่าง. อจฺฉริยมนุสฺโสติ อจฺฉริโย มนุสฺโส (สัง. ปรับปรุง).

บทว่า อจฺฉริยมนุสฺโส ความว่า มนุษย์ผู้อัศจรรย์.

  • ลักษณะบทตั้งที่เป็น สัมภาวนาปุพพปทกัมมธารยสมาส
  • ถ้าบทตั้งเป็นสมาส ส่วนบทขยายประกอบด้วยศัพท์เหล่านี้ คือ สงฺขาต, หุตฺวา, ภูต,
    อิติ, เอว แสดงว่าบทตั้งเป็นสัมภาวนาปุพพปทกัมมธารยสมาส

ตัวอย่าง. อภิชฺฌาวิสมโลภนฺติ อภิชฺฌาสงฺขาตํ วิสมโลภํ (อํ.อฏฺ. 2/352)

บทว่า อภิชฌาวิสมโลภํ คือ วิสมโลภะกล่าวคืออภิชฌา.

  • ลักษณะบทตั้งที่เป็น อุปมานุตตรปทกัมมธารยสมาส
  • ถ้าบทตั้งเป็นสมาส ส่วนบทขยายประกอบด้วย สทิส ศัพท์ ฯลฯ แสดงว่าบทตั้งเป็นอุปมา-นุตตรปทกัมมธารยสมาส

ตัวอย่าง. สมณปุณฺฑรีโกติ ปุณฺฑรีกสทิโส สมโณ (อํ.อฏ. 2/364).

บทว่า สมณปุณฑรีโก คือ พระสมณะผู้เหมือนดอกบุณฑริก.

 

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็น ตัปปุริสสมาส
    • ถ้าบทตั้งเป็นสมาส ส่วนบทขยายมีวิภัตติต่างกัน แสดงว่าบทตั้งเป็นตัปปุริสสมาส

ตัวอย่าง.       ภูมิคโตติ ภูมึ คโต (สัง. ปรับปรุง).

บทว่า ภูมิคโต คือ ผู้ไปแล้วสู่แผ่นดิน.

  • ลักษณะบทตั้งที่เป็น ทุติยาตัปปุริสสมาส
  • ถ้าบทตั้งเป็นสมาส โดยที่ศัพท์หลังของบทตั้งเป็นกัตตุสาธนะ แสดงว่าบทตั้งเป็นทุติยา-ตัปปุริสสมาส

ตัวอย่าง.       อรญฺญํ คโต อรญฺญคโต (รูป. 351).

ผู้ไปแล้ว สู่ป่า ชื่อว่า อรญฺญคต.

  • ลักษณะบทตั้งที่เป็น ตติยาตัปปุริสสมาส
  • ถ้าบทตั้งเป็นสมาส โดยที่ศัพท์หลังของบทตั้งเป็นกัมมสาธนะ แสดงว่าบทตั้งเป็นตติยา-ตัปปุริสสมาส

ตัวอย่าง.       พุทฺเธน ภาสิโต พุทฺธภาสิโต, ธมฺโม (รูป. 351).

พระธรรมใด อันพระพุทธเจ้า ตรัสแล้ว พระธรรมนั้น ชื่อว่า พุทฺธภาสิต.

  • ลักษณะบทตั้งที่เป็น ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส
  • ถ้าบทตั้งเป็นสมาส โดยที่ศัพท์หลังของบทตั้งเป็นกรณสาธนะ หรืออธิกรณสาธนะ แสดงว่าบทตั้งเป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส

ตัวอย่าง.       ธมฺมสฺส สํวณฺณนา ธมฺมสํวณฺณนา (สัง. ปรับปรุง).

คัมภีร์เป็นเครื่องพรรณนา ซึ่งธรรม ชื่อว่า ธมฺมสํวณฺณนา.

  • ลักษณะบทตั้งที่เป็นกัมมัฏฐฉัฏฐีตัปปุริสสมาส
  • ถ้าบทตั้งเป็นสมาส โดยที่ศัพท์หลังของบทตั้งเป็นภาวสาธนะ แสดงว่าบทตั้งเป็นกัมมัฏฐ-ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส

ตัวอย่าง.       รตนตฺตยสฺส ปณาโม รตนตฺตยปฺปณาโม.

การนอบน้อม ซึ่งพระรัตนตรัย ชื่อว่า รตนตฺตยปฺปณาม.

  • ลักษณะบทตั้งที่เป็น ทุราชานมัคคตัปปุริสสมาส
  • ถ้าบทตั้งเป็นสมาส ส่วนบทขยายสลับบทหน้า/หลัง แสดงว่าบทตั้งเป็นทุราชานมัคค-
    ตัปปุริสสมาส

ตัวอย่าง.       อคฺคทกฺขิเณยฺโยติ ทกฺขิเณยฺยานํ อคฺโค (สัง. ปรับปรุง).

บทว่า อคฺคทกฺขิเณยฺโย คือ ผู้เลิศกว่าบุคคลผู้ควรรับทักษิณาทาน.

 

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็น พหุพพีหิสมาส
    • ถ้าบทตั้งเป็นสมาส ส่วนบทขยายประกอบด้วยศัพท์เหล่านี้ คือ สมนฺนาคต, สมฺปนฺน,
      ปริปุณฺณ, สมฺปุณฺณ, สมงฺคี, อุปฺปนฺน แสดงว่าบทตั้งเป็นพหุพพีหิสมาส

ตัวอย่าง.       มหทฺธโนติ มหตา ธเนน สมนฺนาคโต (ที. อฏฺ. 1/253).

บทว่า มหทฺธโน ความว่า ผู้ประกอบด้วยทรัพย์มากมาย.

  • ถ้าบทตั้งเป็นสมาส ส่วนบทขยายเป็นกัตตุสาธนะ แสดงว่าบทตั้งเป็นพหุพพีหิสมาส

ตัวอย่าง.       สจฺฉิกตนิโรโธติ นิโรธํ​ นิพฺพานํ สจฺฉิกตฺวา ฐิโต (มหานิ. อฏฺ. 82).

บทว่า สจฺฉิกตนิโรโธ ความว่า ผู้ดำรงอยู่โดยรู้แจ้งพระนิพพาน.

  • ถ้าบทตั้งเป็นสมาส ส่วนบทขยายเป็นอัสสัตถิตัทธิต แสดงว่าบทตั้งเป็นพหุพพีหิสมาส

ตัวอย่าง.       อภิรูปาติ อภิรูปวตี (อํ. อฏฺ. 3/37).

บทว่า อภิรูปา คือ หญิงผู้มีรูปงาม.

  • ถ้าบทตั้งเป็นสมาส ส่วนบทขยายประกอบด้วยอัญญบท คือ ย/ต/เอต/อิม ศัพท์ แสดงว่าบทตั้งเป็นพหุพพีหิสมาส

ตัวอย่าง.       อาคตา สมณา อิมํ สงฺฆารามนฺติ อาคตสมโณ, สงฺฆาราโม.

สมณะทั้งหลาย มาแล้ว สู่สังฆารามนี้ เพราะเหตุนั้น สังฆารามนั้น ชื่อว่า อาคตสมณ.

  • ถ้าบทตั้งเป็นสมาส ส่วนบทขยายมีคณะต่างกัน แสดงว่าบทตั้งเป็นพหุพพีหิสมาส

ตัวอย่าง.       มหาปญฺโญติ ปณฺฑิโต (สัง. ปรับปรุง).

บทว่า มหาปญฺโญ คือ บัณฑิต.

  • ลักษณะบทตั้งที่เป็น สังขโยภยปทพหุพพีหิสมาส
  • ถ้าบทตั้งเป็นสมาส ส่วนบทขยายมีวิภัตติต่างกัน และมี วา สองศัพท์ แสดงว่าบทตั้งเป็นสังขโยภยปทพหุพพีหิสมาส

ตัวอย่าง.       ทฺวตฺติปตฺตาติ เทฺว วา ตโย วา ปตฺตา (สัง. ปรับปรุง).

บทว่า ทฺวตฺติปตฺตา คือ บาตร สอง หรือ สามใบ.

  • ลักษณะบทตั้งที่เป็น อุปมาปุพพปทพหุพพีหิสมาส
  • ถ้าบทตั้งเป็นสมาส ส่วนบทขยายประกอบด้วยศัพท์เหล่านี้ คือ วิย, อิว, สทิส, สปฺปฏิภาค ฯลฯ แสดงว่าบทตั้งเป็นอุปมาปุพพปทพหุพพีหิสมาส

ตัวอย่าง.       นิโคฺรโธปริมณฺฑโลติ นิโคฺรโธ วิย ปริมณฺฑโล (ที. อฏฺ. 2/44, ม.อฏฺ. 3/274).

บทว่า นิโคฺรโธปริมณฺฑโล ความว่า ผู้มีปริมณฑลประดุจต้นไทร

  • ลักษณะบทตั้งที่เป็น นนิปาตปุพพปทพหุพพีหิสมาส
  • ถ้าบทตั้งเป็นสมาส ส่วนบทขยายประกอบด้วย น/นิ/รหิต ศัพท์ ฯลฯ แสดงว่าบทตั้งเป็น
    นนิปาตปุพพปทพหุพพีหิสมาส

ตัวอย่าง.       ทุสฺสีโลติ อสีโล นิสฺสีโล (ที. อฏฺ. 2/44, ม.อฏฺ. 3/274).

บทว่า ทุสฺสีโล คือ ผู้ไม่มีศีล.

  • ลักษณะบทตั้งที่เป็น สหปุพพปทพหุพพีหิสมาส
  • ถ้าบทตั้งเป็นสมาส ส่วนบทขยายประกอบด้วย สมฺปตฺติ/สมาโยค ศัพท์ แสดงว่าบทตั้งเป็น
    สหปุพพปทพหุพพีหิสมาส

ตัวอย่าง.       อตฺถสมฺปตฺติยา สาตฺถํ, พฺยญฺชนสมฺปตฺติยา สพฺยญฺชนํ (วิ. อฏฺ. 1/120, วิสุทฺธิ. 1/343).

ชื่อว่า สาตฺถ เพราะบริบูรณ์ด้วยเนื้อความ, ชื่อว่า สพฺยญฺชน เพราะบริบูรณ์ด้วยพยัญชนะ.

 

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็น พหุพพีหิสมาส หรืออัพยยีภาวสมาส
    • ถ้าบทตั้งเป็นสมาส ส่วนบทขยายประกอบด้วย อภาว ศัพท์ แสดงว่าบทตั้งเป็น พหุพพีหิสมาส หรืออัพยยีภาวสมาส

ตัวอย่าง.       สพฺเพปิ เต วุฑฺฒิสงฺขาตสฺส อยสฺส อภาวโต อปายาติ วุจฺจนฺติ (ที. อฏฺ. 2/94).

สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น แม้ทั้งปวง ท่านเรียกว่า อปาย เพราะความไม่มีความเจริญคือความรุ่งเรือง.

ตัวอย่าง.       ทรถานํ​ อภาโว นิทฺทรถํ (รูป. 336).

ความไม่มี แห่งความเร่าร้อนทั้งหลาย ชื่อว่า นิทฺทรถ.

 

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็น ทวันทสมาส
    • ถ้าบทตั้งเป็นสมาส ส่วนบทขยายมีวิภัตติเดียวกัน และมี จ สองศัพท์ แสดงว่าบทตั้งเป็น ทวันทสมาส

ตัวอย่าง.       สมณพฺราหฺมณาติ สมโณ จ พฺราหฺมโณ จ (สัง. ปรับปรุง).

บทว่า สมณพฺราหฺมณา ได้แก่ สมณะและพราหมณ์.

 

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็น โลปสมาส
    • ถ้าบทตั้งเป็นสมาส ส่วนบทขยายเพิ่มศัพท์ในเบื้องต้น/ท่ามกลาง/ที่สุด แสดงว่าบทตั้งเป็นอาทิโลปสมาส/มัชเฌโลปสมาส/อันตโลปสมาส.

ตัวอย่าง.       ทตฺโตติ เทวทตฺโต (สัง. ปรับปรุง).

บทว่า ทตฺโต คือ ผู้อันเทวดาประทานให้.

 

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็นทวันทสมาส ที่ต้องเข้าสมาสกับศัพท์หน้า เป็นกัมมธารยสมาส

ตัวอย่าง.       ปวรา จ เต สุราสุรครุฑมนุชภุชคคนฺธพฺพา เจติ ปวรสุราสุรครุฑมนุชภุชค-คนฺธพฺพา (กส. 308).

ผู้ประเสริฐทั้งหลายด้วย ผู้ประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้น เป็นเทวดา อสูร ครุฑ มนุษย์ นาค และคนธรรพ์ด้วย เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า ปวรสุราสุรครุฑมนุชภุชคคนฺธพฺพา.

 

  1. ถ้าศัพท์หน้าเป็นทวันทสมาส ต้องเข้าสมาสกับศัพท์หลัง เป็นกัมมธารยสมาส หรือตัปปุริสสมาส

ตัวอย่าง.       กรุณาเทสนาวิปสฺสนาเยว ญาณานิ กรุณาเทสนาวิปสฺสนาญาณานิ.

กรุณา เทสนา และวิปัสสนาทั้งหลายนั่นเทียว เป็นญาณ ชื่อว่า กรุณาเทสนาวิปสฺสนาญาณ.

ตัวอย่าง. เวทนาญาณสงฺขารานํ เภโท เวทนาญาณสงฺขารเภโท.

ประเภท แห่งเวทนา ญาณ และสังขารทั้งหลาย ชื่อว่า เวทนาญาณสงฺขารเภท.

 

ตทฺธิตสํวณฺณนานิยาม

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็น อัสสัตถิตัทธิต
    • ถ้าบทตั้งเป็นตัทธิต ส่วนบทขยายประกอบด้วยบทเหล่านี้ คือ สมนฺนาคต, ยุตฺต, อุเปต, โยค, ปริปุณฺณ, สมฺปุณฺณ, สมงฺคี แสดงว่าบทตั้งเป็น อัสสัตถิตัทธิต

ตัวอย่าง. เมธาวินีติ เมธาย สมนฺนาคตา (วิ.อฏฺ. 2/43).

บทว่า เมธาวินี คือ ผู้ประกอบด้วยปัญญา.

  • ถ้าบทตั้งเป็นตัทธิต ส่วนบทขยายเป็นกัตตุสาธนะ แสดงว่าบทตั้งเป็น อัสสัตถิตัทธิต

ตัวอย่าง. สติมาติ สติการโก (สัง. ปรับปรุง).

บทว่า สติมา คือ บุคคลผู้กระทำ (ตั้ง) สติ.

  • ถ้าบทตั้งเป็นตัทธิต ส่วนบทขยายเป็นพหุพพีหิสมาส แสดงว่าบทตั้งเป็น อัสสัตถิตัทธิต

ตัวอย่าง. อุปฏฺฐิตสติตาย สติมา (อภิ.อฏฺ. 1/228, มหานิ.อฏฺ. 138).

บทว่า สติมา เพราะความเป็นผู้มีสติดำรงมั่น.

 

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็น ภาวตัทธิต
    • ถ้าบทตั้งเป็นตัทธิต ส่วนบทขยายเป็นภาวสาธนะ/ อาการ/ ภาวศัพท์ แสดงว่าบทตั้งเป็น ภาวตัทธิต

ตัวอย่าง. สมํ สมนฺตโต วา ปกาเรหิ ชานนํ สมฺปชญฺญํ (มูลฏี 1/113).

ความรู้ โดยประการต่าง ๆ โดยสม่ำเสมอ หรือ โดยรอบ (ต่อเนื่อง) ชื่อว่า สัมปชัญญะ.

 

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็น อุปมาตัทธิต
    • ถ้าบทตั้งเป็นตัทธิต ส่วนบทขยายประกอบด้วยบทเหล่านี้ คือ สทิส, สม, วิย, อิว, สริกฺข แสดงว่าบทตั้งเป็น อุปมาตัทธิต

ตัวอย่าง. โอฆสทิสตาย โอฆา (วิภาวินี. 219) ฉ.

ชื่อว่า โอฆะ เพราะเป็นประดุจห้วงน้ำ.

 

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็น สัญชาตัสสตัทธิต
    • ถ้าบทตั้งเป็นตัทธิต ส่วนบทขยายประกอบด้วยบทเหล่านี้ คือ สมนฺนาคต, สมฺปนฺน,
      ปริปุณฺณ, สมฺปุณฺณ, สมงฺคี, สญฺชาต, สมปฺปิต แสดงว่าบทตั้งเป็น สัญชาตัสสตัทธิต

ตัวอย่าง. ปณฺฑิตาติ ปณฺฑิจฺเจน สมนฺนาคตา (วิ.อฏฺ. 2/43, วิ.อฏฺ. 3/16, ที.อฏฺ. 1/108).

บทว่า ปณฺฑิตา แปลว่า ผู้ประกอบด้วยความเป็นบัณฑิต.

 

กิตสํวณฺณนานิยาม

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็น กัตตุสาธนะ
    • ถ้าบทตั้งเป็นกิตบท ส่วนบทขยายประกอบด้วยบทเหล่านี้ คือ สมนฺนาคต, ยุตฺต, สมฺปนฺน, ปริปุณฺณ, สมฺปุณฺณ, สมงฺคี แสดงว่าบทตั้งเป็น กัตตุสาธนะ

ตัวอย่าง. อุเปกฺขโกติ อุเปกฺขาย สมนฺนาคโต (วิ.อฏฺ. 1/147).

บทว่า อุเปกฺขโก คือ ผู้ประกอบด้วยอุเบกขา.

  • ถ้าบทตั้งเป็นกิตบท ส่วนบทขยายเป็นพหุพพีหิสมาส แสดงว่าบทตั้งเป็น กัตตุสาธนะ

ตัวอย่าง. อภิสเมตาวีติ ปฏิวิทฺธจตุสจฺจา (วิ.อฏฺ. 2/135).

บทว่า อภิสเมตาวี คือ อุบาสิกาผู้แทงตลอดสัจจะสี่.

  • ถ้าบทตั้งเป็นกิตบท ส่วนบทขยายเป็นอัสสัตถิตัทธิต แสดงว่าบทตั้งเป็น กัตตุสาธนะ

ตัวอย่าง. วิฆาโตติ วิฆาตวา (เปต.อฏฺ. 278).

บทว่า วิฆาโต คือ ผู้มีความเหน็ดเหนื่อย.

  • ถ้าบทตั้งเป็นกิตบท ส่วนบทขยายมีอวุตตกรรม แสดงว่าบทตั้งเป็น กัตตุสาธนะ

ตัวอย่าง. ชิคุจฺฉมาโนติ อสุจึ วิย ตํ ชิคุจฺฉนฺโต (วิ.อฏฺ. 1/263).

บทว่า ชิคุจฺฉมาโน คือ รังเกียจอยู่ ซึ่งอัตภาพนั้น ประดุจของอันไม่สะอาด.

  • ถ้าบทตั้งเป็นกิตบท ส่วนบทขยายเป็นกัตตุวาจก และประกอบด้วยภาวศัพท์ แสดงว่าบทตั้งเป็น กัตตุสาธนะ และลบภาวศัพท์

ตัวอย่าง. วินยนโตติ วินยนภาวโต, ภาวปธานนิทฺเทโสยํ, ภาวโลโป วา (สี.นวฏี. 107).

บทว่า วินยนโต ความว่า เพราะความเป็นสภาพฝึกหัด. ศัพท์นี้ เป็นศัพท์แสดงโดยมีอรรถภาวเป็นประธาน หรือลบภาวศัพท์.

  • ถ้าบทตั้งเป็นกิตบท ส่วนบทขยายประกอบด้วย ยุ ปัจจัย และ ก อาคม แสดงว่าบทตั้งเป็น กัตตุสาธนะ

ตัวอย่าง. วสลํ วา กิเลสปคฺฆรณกํ ธมฺมํ (วิ.อฏฺ. 1/231).

อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งความประพฤติอันต่ำทราม คือ อันหลั่งกิเลส.

  • ถ้าบทตั้งเป็นกิตบท ส่วนบทขยายเป็นอาขยาตปรัสสบท แสดงว่าบทตั้งเป็น กัตตุสาธนะ

ตัวอย่าง. อาหนติ จิตฺตนฺติ อาฆาโต (ที.อฏฺ. 1/51).

สภาพใด ย่อมกระทบกระทั่ง ซึ่งจิต เพราะเหตุนั้น สภาพนั้น ชื่อว่า อาฆาต.

  • ถ้าบทตั้งเป็นกิตบท ส่วนบทขยายมีปฐมันตบท แสดงว่าบทตั้งเป็น กัตตุสาธนะ

ตัวอย่าง. ยาจโก อปฺปิโย โหตีติ โย ยาจติ, โส อปฺปิโย โหติ (วิ.อฏฺ. 2/60).

บาทคาถาว่า ยาจโก อปฺปิโย โหติ ความว่า บุคคลใด ย่อมขอ บุคคลนั้น ไม่เป็นที่รัก.

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็น ตัสสีล/ตัทธัมม/ตัสสาธุการีกิต
    • ถ้าบทตั้งเป็นกิตบท ส่วนบทขยายประกอบด้วย สีล/ ธมฺม/ สาธุการี ศัพท์ แสดงว่าบทตั้งเป็น ตัสสีล/ตัทธัมม/ตัสสาธุการีกิต

ตัวอย่าง. ภิกฺขโวติ อามนฺตนาการทีปนํ. ตญฺจ ภิกฺขนสีลตาทิคุณโยคสิทฺธตฺตา วุตฺตํ.
ภิกฺขนสีลตาคุณยุตฺโตปิ หิ ภิกฺขุ ภิกฺขนธมฺมตาคุณยุตฺโตปิ ภิกฺขเน สาธุการิตาคุณยุตฺโตปีติ สททวิทู มญฺญนฺติ (ม.อฏฺ. 1/14, องฺ.อฏฺ. 1/15).

บทว่า ภิกฺขโว แสดงอาการตรัสเรียก. และบทว่า ภิกฺขโว นั้น ตรัสขึ้นเพราะการสำเร็จโดยการประกอบด้วยสภาพมีการขอเป็นปกติเป็นต้น. จริงอยู่ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสภาพคือการขอเป็นปกติบ้าง ประกอบด้วยสภาพคือการขอเป็นข้อประพฤติบ้าง ประกอบด้วยสภาพคือการกระทำด้วยดีในการขอบ้าง นักไวยากรณ์ทั้งหลายมีความเห็นเช่นนี้.

 

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็น กัมมสาธนะ
    • ถ้าบทตั้งเป็นกิตบท ส่วนบทขยายเป็นอวุตตกัตตา แสดงว่าบทตั้งเป็น กัมมสาธนะ.

ตัวอย่าง. โอติณฺโณติ ยกฺขาทีหิ วิย สตฺตา อนฺโต อุปฺปชฺชนฺเตน ราเคน โอติณฺโณ (วิ.อฏฺ. 2/20, กงฺขา. 72).

ภิกษุผู้อันราคะที่เกิดขึ้นภายในแล้ว เหมือนเหล่าสัตว์อันอมนุษย์เช่นยักษ์เข้าสิงแล้ว ชื่อว่า

โอติณฺณ.

  • ถ้าบทตั้งเป็นกิตบท ส่วนบทขยายประกอบด้วยศัพท์เหล่านี้ คือ ยุตฺต, อรห, อนุจฺฉวิก,
    สกฺกุเณยฺย, สกฺกา แสดงว่าบทตั้งเป็น กัมมสาธนะ.

ตัวอย่าง. สมฺโมทิตุํ ยุตฺตภาวโต จ สมฺโมทนียํ (วิ.อฏฺ. 1/122, ที.อฏฺ. 1/227).

ชื่อว่า สมฺโมทนีย เพราะความสมควรเพื่อความปลาบปลื้มด้วย.

  • ถ้าบทตั้งเป็นกิตบท ส่วนบทขยายเป็นกัมมวาจก และประกอบด้วยภาวศัพท์ แสดงว่าบทตั้งเป็น กัมมสาธนะ และลบภาวศัพท์.

ตัวอย่าง. ทฏฺฐพฺพภาวสงฺขาเตน นิทสฺสเนน สห วตฺตตีติ สนิทสฺสนํ (วิภาวินี. 205) ฉ.

รูปใด ย่อมเป็นไปกับด้วยนิทัสสนะกล่าวคือ ความเป็นสิ่งที่ถูกเห็นได้ เพราะเหตุนั้น รูปนั้น ชื่อว่า นิทสฺสน.

  • ถ้าบทตั้งเป็นกิตบท ส่วนบทขยายประกอบด้วย ตพฺพ, อนีย ปัจจัย แสดงว่าบทตั้งเป็น กัมมสาธนะ.

ตัวอย่าง. มุเขน อสิตพฺพํ ภุญฺชิตพฺพนฺติ มุขาสิยํ.
ทนฺเตหิ วิขาทิตพฺพนฺติ ทนฺตวิขาทนํ (อภิ. อฏฺ. 1/388).

สิ่งใด ถูกกิน ด้วยปาก เพราะเหตุนั้น สิ่งนั้น ชื่อว่า มุขาสิย.

สิ่งใด ถูกเคี้ยว ด้วยฟัน เพราะเหตุนั้น สิ่งนั้น ชื่อว่า ทนฺตวิขาทน.

 

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็น ภาวสาธนะ
    • ถ้าบทตั้งเป็นกิตบท ส่วนบทขยายเป็นภาวตัทธิต แสดงว่าบทตั้งเป็น ภาวสาธนะ.

ตัวอย่าง. ตตฺถ ถินตา ถินํ, มิทฺธตา มิทฺธํ (อภิ.อฏฺ. 1/312, วิสุทฺธิ. 3/52).

บรรดาถินะและมิทธะเหล่านั้น ความหดหู่ ชื่อว่า ถินะ, ความเซื่องซึม ชื่อว่า มิทธะ.

  • ถ้าบทตั้งเป็นกิตบท ส่วนบทขยายประกอบด้วย ยุ ปัจจัย, อาการศัพท์ หรือ ภาวศัพท์ แสดงว่าบทตั้งเป็น ภาวสาธนะ.

ตัวอย่าง. วินยรโสติ วินยนรโส. (มูลฏี. 1/111)

บทว่า วินยรโส คือ มีการกำจัดเป็นกิจ.

 

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็น กรณสาธนะ
    • ถ้าบทตั้งเป็นกิตบท ส่วนบทขยายเป็นสัพพนามกรณันตบท ฯลฯ แสดงว่าบทตั้งเป็น กรณสาธนะ ฯลฯ ตามสมควรแก่สัพพนาม

ตัวอย่าง. อานนฺทนฺติ เอเตนาติ อานนฺโท (ที.อฏฺ. 1/53).

ชนทั้งหลาย ย่อมยินดี ด้วยสภาพนั้น เพราะเหตุนั้น สภาพนั้น ชื่อว่า อานันทะ.

  • ถ้าบทตั้งเป็นกิตบท ส่วนบทขยายประกอบด้วยศัพท์อันกล่าวอรรถเหตุ แสดงว่าบทตั้งเป็น กรณสาธนะ

ตัวอย่าง. กายทฺวาราทิปฺปวตฺตํ กมฺมํ​ ลกฺขณํ​ สญฺชานนการณํ อสฺสาติ กมฺมลกฺขโณ (องฺ.อฏฺ. 2/78).

กรรมอันเป็นไปทางทวารมีกายทวารเป็นต้น เป็นเครื่องหมายรู้ คือเป็นเหตุแห่งการหมายรู้ มีอยู่ แก่บุคคลนั้น เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า กมฺมลกฺขณ.

  • ถ้าบทตั้งเป็นกิตบท ส่วนบทขยายประกอบด้วยตติยาวิภัตติ หรือสัตตมีวิภัตติอันแสดง
    อภิเธยยัตถะ แสดงว่าบทตั้งเป็น กรณสาธนะ หรืออธิกรณสาธนะ

ตัวอย่าง. นิโมกฺขนฺติอาทีนิ มคฺคาทีนํ นามานิ. มคฺเคน หิ สตฺตา กิเลสพนฺธนโต มุจฺจนฺติ. ตสฺมา มคฺโค สตฺตานํ นิโมกฺโข วุตฺโต (ส.อฏฺ. 1/20).

บทว่า นิโมกฺขํ เป็นต้น เป็นชื่อของธรรมทั้งหลายมีมรรคธรรมเป็นต้น เพราะมรรคธรรมท่านเรียกว่า นิโมกฺข เนื่องจากเหล่าสัตว์หลุดพ้นจากเครื่องผูกคือกิเลสได้ด้วยมรรคธรรมนั้น.

ตัวอย่าง. ผลกฺขเณ ปน เต กิเลสพนฺธนโต ปมุตฺตา, ตสฺมา ผลํ สตฺตานํ ปโมกฺโขติ วุตฺตํ (ส.อฏฺ. 1/20).

ส่วนในขณะที่เกิดผลธรรม หมู่สัตว์เหล่านั้นหลุดพ้นแล้ว จากเครื่องผูกคือกิเลส ดังนั้น จึงเรียกผลธรรมว่าเป็นที่หลุดพ้นของสัตว์ทั้งหลาย.

 

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็น กรณสาธนะ หรืออธิกรณสาธนะ
    • ถ้าบทตั้งเป็นกิตบท ส่วนบทขยายประกอบด้วย อาคมฺม ศัพท์เป็นต้น แสดงว่าบทตั้งเป็นกรณสาธนะ หรืออธิกรณสาธนะ

ตัวอย่าง. วิเวกนิสฺสิตนฺติอาทีสุ วิเวโก วิราโค นิโรโธติ ตีณิปิ นิพฺพานสฺส นามานิ. นิพฺพานํ หิ อุปธิวิเวกตฺตา วิเวโก, ตํ อาคมฺม ราคาทโย วิรชฺชนฺตีติ วิราโค, นิรุชฺฌนฺตีติ นิโรโธ (ที.อฏฺ. 3/261, องฺ.อฏฺ. 2/292).

ในบทว่า วิเวกนิสฺสิตํ เป็นต้น พึงทราบความว่า ชื่อสามประการคือ วิเวก วิราค นิโรธ เป็นชื่อของพระนิพพาน. จริงอยู่ พระนิพพานชื่อว่า วิเวก เนื่องจากเป็น อุปธิวิเวก, กิเลสทั้งหลาย มีราคะเป็นต้น ย่อมคลายกำหนัด เพราะอาศัยพระนิพพานนั้น ดังนั้น พระนิพพานนั้น จึงชื่อว่า วิราค, กิเลสเหล่านั้น ย่อมดับลง เพราะอาศัยพระนิพพานนั้น ดังนั้น พระนิพพานนั้น จึงชื่อว่า นิโรธ.

ตัวอย่าง. นิพฺพานํ หิ ยสฺมา ตํ อาคมฺม อารพฺภ ปฏิจฺจ ราโค วิรชฺชติ น โหติ, ตสฺมา
ราควิราโคติ วุจฺจติ. ยสฺมา ปน ตํ อาคมฺม มานมทปุริสมทาทโย มทา นิมฺมทา อมทา โหนฺติ วินสฺสนฺติ, ตสฺมา มทนิมฺมทนนฺติ วุจฺจติ (วิ.อฏฺ. 1/227).

ขยายความว่า พระนิพพาน เรียกว่า ราควิราค เพราะราคะย่อมคลายกำหนัด คือย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัยพระนิพพานนั้น และยังเรียกว่า มทนิมฺมทน เพราะความมัวเมาด้วยมาน, มัวเมาในความเป็นบุรุษเป็นต้น ย่อมไม่มัวเมาอีก คือย่อมพินาศไป เพราะอาศัยพระนิพพานนั้น.

 

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็น อปาทานสาธนะ
    • ถ้าบทตั้งเป็นกิตบท ส่วนบทขยายประกอบด้วย วตฺถุ ศัพท์ แสดงว่าบทตั้งเป็นอปาทาน-สาธนะ

ตัวอย่าง. เอตํ ภยนฺติ…ภยวตฺถุ ภยการณนฺติ อตฺโถ (สํ.อฏฺ. 1/22).​

ปาฐะว่า เอตํ ภยํ ความว่า เหตุแห่งความกลัว.

 

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็น อปาทานสาธนะ หรืออธิกรณสาธนะ
    • ถ้าบทตั้งเป็นกิตบท ส่วนบทขยายประกอบด้วย ปตฺวา ศัพท์ แสดงว่าบทตั้งเป็นอปาทาน-สาธนะ หรืออธิกรณสาธนะ

ตัวอย่าง. นิพฺพานํ ปตฺวา สตฺตานํ สพฺพทุกฺขํ วิวิจฺจติ, ตสฺมา นิพฺพานํ วิเวโกติ วุตฺตํ (สํ.อฏฺ. 1/20).

ความทุกข์ทั้งมวลของเหล่าสัตว์ ย่อมหลุดพ้น เพราะบรรลุถึงพระนิพพาน เพราะเหตุนั้น พระนิพพาน จึงเรียกว่า วิเวก.

 

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็น ภาวโลป หรือ ภาวปธาน
    • ถ้าบทตั้งไม่ประกอบด้วย ภาวศัพท์ หรือ ภาวปัจจัย ส่วนบทขยายประกอบด้วย ภาวศัพท์ หรือ ภาวปัจจัย แสดงว่าบทตั้งเป็น ภาวโลป หรือ ภาวปธาน

ตัวอย่าง. อถ วา อนวชฺชวจเนน อนวชฺชตฺตํ อาห สุขวิปากวจเนน สุขวิปากตฺตํ (มูลฏี. 1/38).

อีกอย่างหนึ่ง อรรถกถาจารย์ กล่าวความเป็นสภาพไม่มีโทษด้วย อนวชฺช ศัพท์ และการให้ผลเป็นความสุขด้วย วิปาก ศัพท์.

 

ปกิณฺณกสํวณฺณนานิยาม

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็น กิริยาวิเสสนะ
    • ถ้าขยายบทตั้งด้วย ตฺวา ปัจจยันตบท แสดงว่าบทตั้งเป็น กิริยาวิเสสนะ

ตัวอย่าง. กายปฺปจาลกนฺติ กายํ จาเลตฺวา จาเลตฺวา (กงฺขา. 325).

บทว่า กายปฺปจาลกํ คือ ยังกายให้โคลงไปมา.

  1. ลักษณะบทตั้งที่ลงในอรรถ อาจรติ ฯลฯ
    • ถ้าขยายบทตั้งด้วยนามศัพท์และกริยาศัพท์ แสดงว่า ลงปัจจัยในอรรถ อาจรติ ฯลฯ

ตัวอย่าง. สํโฆ​ ปพฺพตมิว อตฺตานมาจรติ = ปพฺพตายติ (รูป. 536).

พระสงฆ์ย่อมประพฤติตนเพียงดังภูเขา.

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็น อนฺต ปัจจยันตบท กัตตุสาธนะ
    • ถ้าบทตั้งเป็น อนฺต ปัจจยันตบท ส่วนบทขยายเป็น มาน ปัจจยันตบทอันเป็นกัตตุรูป แสดงว่าบทตั้งเป็นกัตตุสาธนะ

ตัวอย่าง. ภณนฺตสฺส โหตีติ ภณมานสฺส โหติ (วิ.อฏฺ. 1/539).

ปาฐะว่า ภณนฺตสฺส โหติ ความว่า (ความคิด) ย่อมมีแก่ผู้กล่าวอยู่.

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็น อนฺต ปัจจยันตบท กัมมสาธนะ
    • ถ้าบทตั้งเป็น อนฺต ปัจจยันตบท ส่วนบทขยายเป็น มาน ปัจจยันตบทอันเป็นกัมมรูป แสดงการอาเทศ มาน ปัจจัยเป็น อนฺต ปัจจัยในบทตั้ง

ตัวอย่าง. อสมนุภาสนฺตสฺสาติ อสมนุภาสิยมานสฺส อปฺปฏิสชฺชนฺตสฺสาปิ สํฆาทิเสเสน
อนาปตฺติ (วิ.อฏฺ. 2/111).

บทว่า อสมนุภาสนฺตสฺส ความว่า แม้พระภิกษุผู้ถูกว่ากล่าว ด้วยญัตติกรรมวาจา ไม่สละความเห็นนั้น ไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็น มาน ปัจจยันตบท กัตตุสาธนะ
    • ถ้าบทตั้งเป็น มาน ปัจจยันตบท ส่วนบทขยายเป็น อนฺต ปัจจยันตบท แสดงว่าบทตั้งเป็นกัตตุสาธนะ

ตัวอย่าง. ชิคุจฺฉมาโนติ อสุจึ วิย ชิคุจฺฉนฺโต (วิ.อฏฺ. 1/263).

บทว่า ชิคุจฺฉมาโน คือ รังเกียจอยู่ ราวกะว่าสิ่งสกปรก.

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็น อิตถัมภูตะ
    • ถ้าบทตั้งเป็น ตติยันตบท ส่วนบทขยายเป็น ตฺวา ปัจจยันตบท แสดงว่าบทตั้งเป็น อิตถัม-ภูตลักขณะ

ตัวอย่าง. ปุโฏเสนาติ ปุโฏสํ ปาเถยฺยํ คเหตฺวา (ที.อฏฺ. 1/259).

บทว่า ปุโฏเสน คือ ถือเอาเสบียง.

  1. ลักษณะบทตั้งที่ลงวิภัตตินามในอรรถเหตุ
    • ถ้าบทตั้งเป็น นามบท ส่วนบทขยายประกอบด้วยเหตุบท แสดงว่าบทตั้งลงวิภัตตินามในอรรถเหตุ

ตัวอย่าง. มณฺฑเนติ มณฺฑนเหตุ (ที.ฏี. 1/76, สี.นวฏี. 1/282).

บทว่า มณฺฑเน คือ เพราะเหตุคือการประดับ.

  1. ลักษณะการแสดงขยายไวพจน์ของบทตั้ง
    • ถ้าบทขยายมีเนื้อความเหมือนบทตั้ง แสดงการขยายไวพจน์ของบทตั้ง

ตัวอย่าง. ตุมฺหํเยวสฺส เตน อนฺตราโยติ ตุมฺหากํเยว ปฐมชฺฌานาทีนํ อนฺตราโย ภเวยฺย (ที.อฏฺ. 1/51).

ปาฐะว่า ตุมฺหํเยวสฺส เตน อนฺตราโย (อันตราย พึงมีแก่เธอทั้งหลายนั่นเทียว) ความว่า อันตราย แห่งปฐมฌานเป็นต้น พึงมีแก่เธอทั้งหลายนั่นเทียว

  1. ลักษณะบทตั้งที่เป็นการแสดงวิภัตติที่แท้จริงของบทตั้ง
    • ถ้าบทตั้งไม่ปรากฏรูปวิภัตติอย่างชัดเจน ส่วนบทขยายแสดงให้ปรากฏชัด เป็นการแสดงวิภัตติที่แท้จริงของบทตั้ง

ตัวอย่าง. ตัวอย่างเดียวกันกับข้อ 8.

  1. ลักษณะที่เป็นการขยายเนื้อความของปัจจัย
    • ถ้าขยายบทตั้งโดยเปลี่ยนปัจจัย แสดงการขยายเนื้อความของปัจจัย

ตัวอย่าง. รูปีติ รูปวา (ที.อฏฺ. 1/109).

บทว่า รูปี คือ ผู้มีรูป.

  1. ลักษณะ อตฺถาย บท ขยายอรรถตทัตถสัมปทาน ของจตุตถีวิภัตติในบทตั้ง

ตัวอย่าง. ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติญาณายาติ…ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติมฺหิ ยํ ญาณํ, ตทตฺถาย (วิ.อฏฺ. 1/156).

บทว่า ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติญาณาย ความว่า ญาณใด ในการระลึกชาติก่อน, เพื่อประโยชน์แก่ญาณนั้น.

  1. ลักษณะของ อธิวจนํ/นามํ/วุจฺจติ ศัพท์ ขยาย อภิเธยยัตถะ (ตัว, องค์ธรรม) ของบทตั้ง

ตัวอย่าง. อาหนติ จิตฺตนฺติ อาฆาโต. โกปสฺเสตํ อธิวจนํ (ที.อฏฺ. 1/51).

สภาพธรรมใด ย่อมกระทบกระทั่งซึ่งจิต เพราะเหตุนั้น สภาพธรรมนั้น ชื่อว่า อาฆาต. ชื่อว่า อาฆาต นั่น เป็นชื่อของความโกรธ.

  1. ลักษณะของ ยถา เอวํ ศัพท์ ขยายบทตั้งว่า ลงวิภัตติในอรรถกิริยาวิเสสนะ

ตัวอย่าง. สพฺพสนฺถรินฺติ ยถา สนฺถตํ โหติ, เอวํ สนฺถรึ (ที.อฏฺ. 2/139).

บทว่า สพฺพสฺถรึ ความว่า บ้านพักทั้งหมดอันบุคคลปูลาดไว้โดยประการใด ปูลาดไว้โดยประการนั้น.

  1. ลักษณะของ ยถา ตถา ศัพท์ ขยายบทตั้งว่า ลงวิภัตติในอรรถกิริยาวิเสสนะ

ตัวอย่าง. เอกมนฺตนฺติ…ตสฺมา ยถา นิสินฺโน เอกมนฺตํ นิสินฺโน โหติ, ตถา นิสีทีติ เอว-เมตฺถ อตฺโถ เวทิตพฺโพ (วิ.อฏฺ. 1/122, ม.อฏฺ. 1/120, อํ.อฏฺ. 2/15).

ศัพท์ว่า เอกมนฺตํ…ดังนั้น พึงทราบเนื้อความในบทนี้อย่างนี้ว่า นั่งแล้วโดยประการใด นับว่านั่งโดยที่ควรส่วนข้างหนึ่ง นั่งแล้วโดยประการนั้น.

 

 อุปจาร 12

  1. การณูปจาร คือ คำพูดที่กล่าวถึงผลอันใกล้เหตุ หมายความว่า กล่าวเหตุแต่หมายถึงผลวิคคฺห – การณสฺส อุปจาโร โวหาโร การณูปจาโร.

อุทาหรณ์ – จกฺขนุา รูปํ ปสฺสติ. เห็นรูปด้วยตา.

  1. ผลูปจาร คือ คำพูดที่กล่าวในเหตุอันใกล้ผล หมายความว่า กล่าวผลแต่ได้เหตุ

วิคคฺห – ผลสฺส อุปจาโร โวหาโร ผลูปจาโร.

อุทาหรณ์ – โอทโน ปจฺจเต. หุงข้าวสุก.

  1. สทิสูปจาร คือ คำพูดที่กล่าวในสิ่งที่ใกล้สิ่งที่เหมือนกัน หมายความว่ากล่าวสิ่งหนึ่งแต่ได้อีกสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน

วิคคฺห – สทิสสฺส อุปจาโร โวหาโร สทิสูปจาโร.

อุทาหรณ์ – สีโห คายติ. เจ้าสิงห์ร้องเพลง.

  1. ฐานูปจาร คือ คำพูดที่กล่าวในฐานะ อันใกล้ฐานี หมายความว่า กล่าวฐานะ แต่หมายถึงฐานี.

วิคคฺห – ฐานสฺส อุปจาโร โวหาโร ฐานูปจาโร.

อุทาหรณ์ – มญฺจา โฆสนฺติ. เตียงนอน ส่งเสียงอยู่.

  1. ฐานฺยูปจาร คือ คำพูดที่กล่าวในฐานีอันใกล้ฐานะ หมายความว่า กล่าวฐานีแต่หมายถึงฐานะ

วิคคฺห – ฐานิโน อุปจาโร โวหาโร ฐานฺยูปจาโร.

อุทาหรณ์ – กุนฺตา ปจรนฺติ. หอก เที่ยวไปอยู่.

  1. คุณูปจาร คือ คำพูดที่กล่าวในวิเสสยะ (ศัพท์ที่ถูกขยาย) อันใกล้วิเสสนะ (ศัพท์เครื่องขยาย) หมายความว่า กล่าวถึงวิเสสนะ แต่หมายถึงวิเสสยะ

วิคคฺห – คุณสฺส อุปจาโร โวหาโร คุณูปจาโร.

อุทาหรณ์ – นีลํ อาเนหิ. จงนำ (ผ้า) เขียวมา.

  1. เอกเทสูปจาร คือ คำพูดที่กล่าวในบางส่วนอันใกล้หมู่หมายความว่า กล่าวถึงบางส่วน (หรือส่วนหนึ่ง) แต่หมายถึงหมู่

วิคคฺห – เอกเทสสฺส อุปจาโร โวหาโร เอกเทสูปจาโร.

อุทาหรณ์ – สมํ จุณฺณํ. (ยา) ผง เสมอกัน.

  1. เอกเทสฺยูปจาร คือ คำพูดที่กล่าวในหมู่ อันใกล้บางส่วนหมายความว่ากล่าวถึงหมู่ แต่ หมายถึงบางส่วน (หรือส่วนหนึ่ง)

วิคฺคห – เอกเทสิสฺส นามํ เอกเทสมฺหิ อุปจาโร โวหาโร เอกเทสฺยูปจาโร.

(อีกนัยหนึ่ง) เอกเทสิโน อุปจาโร เอกเทสฺยูปจาโร.

อุทาหรณ์ – สมุทฺโท มยา ทิฏฺโฐ. เราเห็นมหาสมุทรแล้ว.

  1. สมีปูปจาร คือ คำพูดที่กล่าวในสมีปี (สิ่งอันมีที่ใกล้) อันใกล้ สมีป (ที่ใกล้) หมายความว่า กล่าวถึง สมีป แต่หมายถึง สมีปี.

วิคคฺห – สมีปสฺส อุปจาโร โวหาโร สมีปูปจาโร.

อุทาหรณ์ – เยน ตีเรน นาวา คจฺฉติ. เรือย่อมแล่นไปทางฝั่งใด.

  1. สมีปฺยูปจาร คือ คำพูดที่กล่าวในสมีป (ที่ใกล้) อันใกล้สมีปี (สิ่งอันมีในที่ใกล้) หมายความว่า กล่าวถึง สมีปี แต่หมายถึงสมีป.

วิคคฺห – สมีปิโน อุปจาโร โวหาโร สมีปฺยูปจาโร.

อุทาหรณ์ – คงฺคายํ สสฺสํ ติฏฺฐติ. ข้าวกล้า ตั้งอยู่ ที่แม่น้ำคงคา.

  1. ตทฺธมฺมูปจาร คือ คำพูดที่กล่าวในสิ่งที่ใกล้ธรรมดาแห่งสิ่งนั้น หมายความว่า กล่าวสิ่งที่ไม่เคยมีให้มีขึ้น.

วิคคฺห – เตสํ วิสาณปุปฺผโลมาทิวนฺตานํ สตฺตรุกฺขานํ ธมฺโม ธมฺมตาติ ตทฺธมฺโม.

สิ่งใด เป็นธรรมดาแห่งสัตว์ และต้นไม้ ที่มีเขา, มีดอกและมีขนเป็นต้น

เพราะเหตุนั้น สิ่งนั้น ชื่อว่า ตทฺธมฺม.

ตทฺธมฺมสฺส อุปจาโร โวหาโร ตทฺธมฺมูปจาโร.

อุทาหรณ์ – สสวิสาณํ. เขากระต่าย.

  1. อเภทูปจาร คือ คำพูดที่กล่าวใกล้ ๆ ถึงสิ่งที่ไม่ต่างกันดุจว่าต่างกัน หมายความว่า กล่าวสิ่งที่ไม่ต่างกันให้ต่างกัน

วิคคฺห – อเภทํปิ เภทํ วิย อุปจาโร โวหาโร อเภทูปจาโร.

อุทาหรณ์ – สิลาปุตฺตกสฺส สรีรํ. ตัวของลูกหินบดยา.

 

เนตฺติ

สังวัณณนาพิเศษที่พระมหากัจจายนเถระ ผู้ประกอบด้วยปฏิสัมภิทาญาณ แตกฉานในพระไตรปิฎก รจนาไว้เพื่อพรรณนาอธิบายขยายความอรรถแห่งพระไตรปิฎก เรียกว่า
เนตฺติ เพราะสามารถนำสัตว์ทั้งหลายไปสู่มรรค ผล นิพพาน หรือเป็นเครื่องนำ หรือเป็นที่นำเหล่าเวไนยสัตว์ทั้งหลายไปสู่มรรค ผล นิพพาน ดังมีวจนัตถะว่า

เนตีติ เนตฺติ,
นยนฺติ เอตาย เอตฺถ วาติ เนตฺติ.

 

เนตตินั้นเมื่อกล่าวโดยลักษณะสามัญมีอย่างเดียวแต่เมื่อจำแนกโดยลักษณะพิเศษแล้วมี 3 ประการคือ

  • 1. หาร
  • 2. นย
  • 3. สาสนปฺปฏฺฐาน

 

หาร 16

หรตีติ หาโร วิธีใดย่อมขจัดความหลง ความสงสัย และความเห็นผิด อันมี สุตฺต เคยฺย เป็นต้นเป็นอารมณ์ เพราะเหตุนั้น วิธีนั้นชื่อว่า หาร

หรือ หริยนฺติ เอเตนาติ หาโร ความหลงย่อมถูกขจัดไปด้วยวิธีนี้ เพราะเหตุนั้น วิธีนี้ชื่อว่า หาร

หรือ หริยนฺติ เอตฺถาติ หาโร ความหลงย่อมถูกขจัดไปด้วยวิธีนี้ เพราะเหตุนั้น
วิธีนี้ชื่อว่า หาร

หรือ หรณมตฺตเมว หาโร เพียงการขจัดความหลงนั่นแล ชื่อว่า หาร

อีกนัยหนึ่ง หาโร วิยาติ หาโร วิธีที่เปรียบประดุจสร้อยสังวาลรัตนะ อันสามารถระงับความเร่าร้อนซึ่งเกิดจากกามราคะเป็นต้น ชื่อว่า หาร

 

หาร มี 16 คือ เทสนาหาร, วิจยหาร, ยุตฺติหาร, ปทฏฺฐหาร, ลกฺขณหาร,
จตุพฺยูหหาร, อาวตฺตหาร, วิภตฺติหาร, ปริวตฺตนหาร, เววจนหาร, ปญฺญตฺติหาร,
โอตรณหาร, โสธนหาร, อธิฏฺฐานหาร, ปริกฺขารหาร, สมาโรปนหาร ดังมีพระบาลีว่า

 

เทสนา วิจโย ยุตฺติ,                                   ปทฏฺฐาโน จ ลกฺขโณ;

จตุพฺยูโห จ อาวฏฺโฏ,                                วิภตฺติ ปริวตฺตโน.

เววจโน จ ปญฺญตฺติ,                                โอตรโณ จ โสธโน;

อธิฏฺฐาโน ปริกฺขาโร,                              สมาโรปโน โสฬโส.

 

1. เทสนาหาร

เทสิยติ สํวณฺณิยติ สุตฺตตฺโถ เอตายาติ เทสนา. อรรถของพระสูตร ย่อมถูกพรรณนาด้วยถ้อยคำนี้ เพราะเหตุนั้นถ้อยคำนี้ชื่อว่า เทสนา ได้แก่ หาร อันมีลักษณะการพรรณนาอรรถ ๖ อย่าง คือ อสฺสาท อาทีนว นิสฺสรณ ผล อุปาย อาณตฺติ ดังมีพระบาลีว่า

อสฺสาทาทีนวตา                                      นิสฺสรณํ ปิจ ผลํ อุปาโย จ,

                อาณตฺตี จ ภควโต                                    โยคีนํ เทสนาหาโร.

 

2. วิจยหาร

วิจิยนฺติ เอเตนาติ วิจโย ปทและปุจฉา เป็นต้น ย่อมถูกพิจารณาด้วยวิธีนี้ เพราะเหตุนั้น วิธีนี้ชื่อว่า วิจย หรือ วิจิยนฺติ เอตฺถาติ วิจโย ปทและปุจฉา ย่อมถูกพิจารณาในวิธีนี้ เพราะเหตุนั้นวิธีนี้ ชื่อว่า วิจย ได้แก่หารอันมีลักษณะการพิจารณาอรรถ 11 อย่างคือ ปท,
ปุจฺฉา, วิสชฺชนา, ปุพฺพาปร, อนุคีติ, อสฺสาท, อาทีนว, นิสฺสรณ, ผล, อุปาย, อาณตฺติ
ดังมีพระบาลีว่า

ยํ ปุจฺฉิตญฺจ วิสชฺชิตญฺจ                           สุตฺตสฺส ยา จ อนุคีติ,

                สุตฺตสฺส โย ปทวิจโย                                 หาโร วิจโยติ นิทฺทิฏฺโฐ.

 

3. ยุตฺติหาร

ยุตฺตี วิจาเรติ เอเตนาติ ยุตฺติ. (อุตฺตรปทโลเปน) ย่อมพิจารณาซึ่งความสมควร และ ไม่สมควรด้วยวิธีนี้ เพราะเหตุนั้น วิธีนี้ชื่อว่า ยุตฺติ (โดยลบบทหลังคือ วิจาร) ได้แก่หารอันมีลักษณะการพิจารณาความสมควรและไม่สมควรของศัพท์ และอรรถ ดังพระบาลีว่า

สพฺเพสํ หารานํ                                        ยา ภูมี โย จ โคจโร เตสํ

                ยุตฺตายุตฺติปริกฺขา                                   หาโร ยุตฺตีติ นิทฺทิฏฺโฐ.

 

 

4. ปทฏฺฐานหาร

ปทฏฺฐานํ วิจาเรติ เอเตนาติ ปทฏฺฐาโน (อุตฺตรปทโลเปน) ย่อมพิจารณาซึ่งปทัฏฐานของธรรมทั้งหลาย ด้วยวิธีนี้ เพราะเหตุนั้นวิธีนี้ ชื่อว่า ปทฏฺฐาน (โดยลบบทหลัง คือ วิจาร) ได้แก่หารอันมีลักษณะการพิจารณาปทัฏฐาน (เหตุใกล้) ของธรรมทั้งหลายที่มาจากพระสูตร โดย โอรุยฺโหรุยฺห (เหตุสืบๆ ลงไป) และ อารุยฺหารุยฺห (ผลสืบๆ ขึ้นมา) ทั้ง อนฺวย (คล้อยตาม) และ พฺยติเรก (ตรงกันข้าม) ดังมีพระบาลีว่า

ธมฺมํ เทเสติ ชิโน                                      ตสฺส จ ธมฺมสฺส ยํ ปทฏฺฐานํ

                อิติ ยาว สพฺพธมฺมา                                 เอโส หาโร ปทฏฺฐาโน.

 

5. ลกฺขณหาร

ลกฺขิยนฺติ อวุตฺตาปิ ธมฺมา เอเตน เอตฺถ วาติ ลกฺขโณ ธรรมทั้งหลายที่มิได้กล่าว ย่อมถูกจดจำด้วยวิธีนี้ หรือในวิธีนี้ เพราะเหตุนั้นวิธีนี้ ชื่อว่า ลกฺขณ ได้แก่หารอันมีลักษณะจดจำธรรมอันมิได้กล่าว โดยอาศัยธรรมที่กล่าวไว้ ซึ่งมีสภาพเหมือนกันโดย ลักษณะ กิจ เหตุ ผล เป็นต้น ดังมีพระบาลีว่า

วุตฺตมฺหิ เอกธมฺเม                                    เย ธมฺมา เอกลกฺขณา เกจิ

                วุตฺตา ภวนฺติ สพฺเพ                                  โส หาโร ลกฺขโณ นาม.

 

6. จตุพฺยูหหาร

วิยูหิยนฺติ เอเตน เอตฺถ วาติ พฺยูโห. อรรถทั้งหลายย่อมถูกจำแนกด้วยวิธีนี้ หรือในวิธีนี้เพราะเหตุนั้น วิธีนี้ ชื่อว่า พฺยูห

จตุนฺนํ พฺยูโห จตุพฺยูโห (หาโร) หาร อันเป็นเครื่องจำแนกอรรถ 4 อย่าง คือ นิรุตฺติ อธิปฺปาย นิทาน และ อนสนฺธิ ชื่อว่า จตุพฺยูหหาร ดังมีพระบาลีว่า

เนรุตฺตมธิปฺปาโย                                     พฺยญฺชนมถ เทสนานิทานญฺจ

                ปุพฺพาปรานุสนฺธี                                     เอโส หาโร จตุพฺยูโห.

 

7. อาวตฺตหาร

สภาควิสภาคธมฺมา อาวตฺติยนฺติ เอเตน, เอตฺถ วาติ อาวตฺโต สภาคธรรมและ
วิสภาคธรรมทั้งหลาย ย่อมถูกหมุนไปด้วยวิธีนี้ เพราะเหตุนั้น วิธีนี้ ชื่อว่า อาวตฺต ได้แก่หาร อันมีลักษณะการหาปทัฏฐานของรุฬฺหธมฺม แล้วหมุนกุศลธรรมและอกุศลธรรม อันเป็นสภาคและวิสภาค ไปตามปทัฏฐานนั้น ดังมีพระบาลีว่า

เอกมฺหิ ปทฏฺฐาเน                                    ปริเยสติ เสสกํ ปทฏฺฐานํ,

                อาวตฺติ ปติปกฺเข                                     อาวตฺโต นาม โส หาโร.

 

8. วิภตฺติหาร

สาธารณาสาธารณานํ สํกิเลสโวทานธมฺมานํ ภูมิโย วิภชียนฺติ เอเตน, เอตฺถ วาติ วิภตฺติ

ภูมิแห่งสังกิเลสธรรม และโวทานธรรมทั้งหลาย อันเป็นสาธารณะ และ อสาธารณะ ย่อมถูกจำแนกด้วยวิธีนี้ หรือ ในวิธีนี้เพราะเหตุนั้น วิธีนี้ ชื่อว่า วิภตฺติ, หรือ เอเตสํ ภูมิยา วิภชนํ วิภตฺติ. การจำแนกธรรมเหล่านั้นโดยภูมิ ชื่อว่า วิภตฺติ ได้แก่หารอันมีลักษณะการจำแนกธรรมทั้งหลายที่มาจากพระสูตรโดย ธมฺม, ภูมิ, ปทฏฺฐาน, นาม และ วตฺถุ อันเป็น สาธารณ และ อสาธารณ ดังมีพระบาลีว่า

ธมฺมญฺจ ปทฏฺฐานํ                                    ภูมิญฺจ วิภชฺชเต อยํ หาโร

                สาธารเณ อสาธารเณ จ                           เนยฺโย วิภตฺตีติ.

 

9. ปริวตฺตนหาร

สุตฺเต วุตฺตธมฺมา ปฏิปกฺขวเสน ปริวตฺติยนฺติ เอเตน, เอตฺถ วาติ ปริวตฺตโน. ธรรมที่กล่าวไว้ในสูตรทั้งหลาย ย่อมถูกพลิกกลับด้วยอำนาจแห่งปฏิปักขธรรม ด้วยวิธีนี้ หรือในวิธีนี้ เพราะเหตุนั้น วิธีนี้ ชื่อว่า ปริวตฺตน, หรือ เตสํ ปริวตฺตนํ ปริวตฺตนํ. การพลิกกลับธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ปริวตฺตน ได้แก่หารอันมีลักษณะการพลิกกลับ กุศลธรรม และ อกุศลธรรมที่มาจากพระสูตร ด้วยอกุศลธรรมและกุศลธรรม อันเป็นปฏิปักษ์กัน ดังมีพระบาลีว่า

กุสลากุสเล ธมฺเม                                     นิทฺทิฏฺเฐ ภาวิเต ปหีเน จ

                ปริวตฺติ ปฏิปกฺเข                                      หาโร ปริวตฺตโน นาม.

 

10. เววจนหาร

วิวิธํ วจนํ เอตฺถ, วิวิธํ วา วุจฺจติ อตฺโถ เอเตนาติ วิวจนํ, วิวจนเมว เววจนํ. ศัพท์ต่างๆ ย่อมถูกกล่าวในวิธีนี้หรืออรรถย่อมถูกกล่าวโดยประการต่าง ๆ ด้วยวิธีนี้ เพราะเหตุนั้น วิธีนี้ชื่อว่า วิวจน, วิวจน นั้นแล ชื่อว่า เววจน ได้แก่หารอันมีลักษณะพรรณนาธรรมทั้งหลายที่มาจากพระสูตรด้วย เววจน ศัพท์ (ศัพท์ที่เป็นคำไวพจน์) ดังพระบาลีว่า

เววจนานิ พหูนิ ตุ                                     สุตฺเต วุตฺตานิ เอกธมฺมสฺส

                โย ชนยติ สุตฺตวิทู                                    เววจโน นาม โส หาโร.

 

11. ปญฺญตฺติหาร

ปกาเรหิ ญาปิยนฺติ เอตาย เอตฺถ วา อตฺถาติ ปญฺญตฺติ. เนื้อความทั้งหลาย ย่อมถูกให้รู้โดยประการต่างๆ ด้วยถ้อยคำนี้ หรือในถ้อยคำนี้ เพราะเหตุนั้น ถ้อยคำนี้ ชื่อว่า ปญฺญตฺติ ได้แก่หารอันมีลักษณะการให้รู้ธรรมทั้งหลายที่มาจากพระสูตรโดยประการต่างๆ ดังพระบาลีว่า

เอกํ ภควา ธมฺมํ                                       ปณฺณตฺตีหิ วิวิธาหิ เทเสติ,

                โส อากาโร เญยฺโย                                    ปณฺณตฺตี นาม โส หาโร.

 

12. โอตรณหาร

สุตฺตาคตธมฺมา ปฏิจฺจสมุปฺปาทาทีสุ โอตาริยนฺติ อนุปเวสิยนฺติ เอเตน เอตฺถ วาติ โอตรโณ. สุตตาคตธรรมทั้งหลาย ย่อมถูกจัดเข้าไปใน ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ ปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น ด้วยวิธีนี้ หรือ ในวิธีนี้ เพราะเหตุนั้น วิธีนี้ ชื่อว่า โอตรณ ดังมีพระบาลีว่า

โย จ ปฏิจฺจุปฺปาโท                                   อินฺทฺริยขนฺธา จ ธาตุอายตนา,

                เอเตหิ โอตรติ โย                                     โอตรโณ นาม โส หาโร.

 

13. โสธนหาร

โสธิยนฺติ สมาธิยนฺติ เอเตน เอตฺถ วาติ โสธโน. ธรรมทั้งหลาย ย่อมถูกชำระด้วยวิธีนี้ หรือในวิธีนี้ เพราะเหตุนั้น วิธีนี้ ชื่อว่า โสธน ได้แก่ หารอันมีลักษณะการชำระ ปท ปทตฺถ ปุจฺฉา วิสชฺชนา และ อารมฺภ ที่มีอยู่ในพระสูตร ดังพระบาลีว่า

วิสฺสชฺชิตมฺหิ ปญฺเห                                  คาถายํ ปุจฺฉิตายมารมฺภ

                สุทฺธาสุทฺธปริกฺขา                                    หาโร โส โสธโน นาม

 

14. อธิฏฺฐานหาร

สามญฺญวิเสสภูตา ธมฺมา วินา วิกปฺเปน อธิฏฺฐิยนฺติ อนุปวตฺติยนฺติ เอเตน เอตฺถ วาติ อธิฏฺฐาโน.

ธรรมทั้งหลาย ทั้งสามัญและพิเศษ ย่อมถูกตั้งไว้แล้วยกขึ้นโดยเว้นจากวิกัป ด้วยวิธีนี้ หรือ ในวิธีนี้ เพราะเหตุนั้น วิธีนี้ ชื่อว่า อธิฏฺฐาน ดังมีพระบาลีว่า

 

เอกตฺถตาย ธมฺมา                                   เยปิ จ เวมตฺถตาย นิทฺทิฏฺฐา

                เต น วิกปฺปยิตพฺพา                                  เอโส หาโร อธิฏฺฐาโน.

 

15. ปริกฺขารหาร

ผลํ ปริกโรติ อภิสงฺขโรตีติ ปริกฺขาโร. (เหตุ ปจฺจโย จ) เหตุปัจจัยใดย่อมปรุงแต่งผล เพราะเหตุนั้น เหตุปัจจัยนั้น ชื่อว่า ปริกฺขาร, หรือ ตํ อาจิกฺขตีติ ปริกฺขาโร. หารใดย่อมกล่าว เหตุปัจจัยนั้น เพราะเหตุนั้น หารนั้นชื่อว่า ปริกฺขาร ได้แก่ หารอันมีลักษณะการกล่าวพรรณนาเหตุ 2 อย่าง คือ เหตุอันเป็น สภาค, อชฺฌตฺติก, ชนก, อสาธารณ และ ปัจจัยอันเป็น วิสภาค, พาหิย, อุปถมฺภก, สาธารณ ดังมีพระบาลีว่า

เย ธมฺมา ยํ ธมฺมํ                                      ชนยนฺติ ปจฺจยา ปรมฺปรโต,

                เหตุมวกฑฺฒยิตฺวา                                   เอโส หาโร ปริกฺขาโร.

 

16. สมาโรปนหาร

ธมฺมา ปทฏฺฐานาทิมุเขน สมาโรปิยนฺติ เอเตน เอตฺถ วาติ สมาโรปโน. ธรรมทั้งหลายย่อมถูกยกขึ้นด้วยหัวข้อ 4 อย่าง คือ ปทฏฺฐาน, เววจน, ภาวนา, และ ปหาน ด้วยวิธีนี้ หรือ ในวิธีนี้ เพราะเหตุนั้น วิธีนี้ ชื่อว่า สมาโรปน ดังมีพระบาลีว่า

เย ธมฺมา ยํมูลา                                        เย เจกตฺถา ปกาสิตา มุนินา

                เต สมโรปยิตพฺพา                                    เอส สมาโรปโน หาโร.

 

โชติกะ พระสัทธัมมโชติกะ  พระอาจารย์เตชินทะ ธัมมาจริยะ ธัมมกถิกะ พระอาจารย์ภัททันตะ ญาณิกเถระ พระอาจารย์พม่า การศึกษาหลักสูตรธัมมาจริยะ หลักสูตรการเรียนการสอนพระอภิธรรม คัมภีร์มหาปัฏฐาน หลักสูตรชั้นมหาอาภิธรรมิกะเอก อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มจร. พระอภิธัมมัตถสังคหะ ๙ ปริจเฉท วัดภัททันตะอาสภาราม มหาสีสยาดอ พระอาจารย์ภัททันคะกุมารเถระ พระอาจารย์ใหญ่ พระกรรมฐานพม่า พระมหาเถระชาวพม่า วิปัสสนาทีปนี อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย สำนักส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คำที่ชาวเน็ตมักเขียนผิด ธรรมาจริยา ธรรมะจริยะ ธรรมจริยะ ธัมมาจริยา ธัมมะจริยะ ธัมมะจริยา ธัมจริยะ ธัมจริยา ธัมะจริยา ธัมะจริยะ เป็นต้น

 

 


โพสที่คล้ายกัน:

หลักสูตรธัมมาจริยะ (๒ ปี)