คู่มือ โน้ตเสียงพระไตรปิฎกสากล ปาฬิ-สัททะอักขะระ พ.ศ.2563

คู่มือ โน้ตเสียงพระไตรปิฎกสากล ปาฬิ-สัททะอักขะระ พ.ศ.2563

แหล่งดาวน์โหลดฟรี คู่มือ โน้ตเสียงพระไตรปิฎกสากล ปาฬิ-สัททะอักขะระ พ.ศ.2563
The Tipitaka Notation Handbook-Pali-Phonetic Alphabet 2020

โน้ตเสียงพระไตรปิฎก คู่มือฉบับสากล พ.ศ.2563(2020) ภาษา ปาฬิ-ไทย / ปาฬิ-โรมัน อักขรวิธีจาก พระไตรปิฎกจุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช (ต้นฉบับ) เมื่อปีพ.ศ. 2436 โดย สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ องค์พระสังฆราชูปถัมภ์โครงการพระไตรปิฎกสากล จัดทำต้นฉบับเผยแพร่โดย กองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล. มณีรัตน์ บุนนาค

คณะทำงานและนักวิชาการมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ทุ่มเทความพยายามมากว่า 20 ปี ในการค้นหา เสียงสวดบาลี ที่ใช้ในการสวดสังคายนาเมื่อ พ.ศ. 1 อย่างแม่นตรง และถูกต้องที่สุด เป็นการค้นหาการออกเสียงสวดที่ถูกต้อง ใกล้เคียงกับเสียงสังคายนาครั้งแรก เพื่อสร้างมาตรฐานในการออกเสียง ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ และเพื่อการดำรงอยู่ของพระพุทธธรรม ตลอดไป


วิธีการดาวน์โหลดคู่มือฯ

ให้ยืนยันตัวตนด้วยการ login เข้าสู่ระบบบัญชี Gmail หรือ facebook เสียก่อน

คู่มือคำอธิบายโน้ตเสียงปาฬิ อ้างอิงจาก: https://www.sajjhaya.org/node/251


ฟังเสียงผ่านเว็บ คลิกที่ https://www.sajjhaya.org/node/17

ดาวน์โหลดแอพส์ ปาฬิแอพส์ / Pāḷi Apps / Sajjhāya Ap‪p

 


หนังสือ พระไตรปิฎกสัชฌายะ ฉบับเสียงอ่านปาฬิ


โครงการพระไตรปิฎกสากล

โครงการพระไตรปิฎกสากล เพื่อเฉลิมพระเกียรติในสมเด็จพระปิยมหาราช ผู้ทรงมีพระราชศรัทธาอุปถัมภ์พระไตรปิฎก และปัจจุบันพบว่า ฉบับ จปร. อักษรสยาม พ.ศ. ๒๔๓๖ มีนวัตกรรมที่สำคัญอันทรงคุณค่า ซึ่งจะได้พิจารณาแนวคิดในการเก็บรักษาพระไตรปิฎกในอดีต โดยมีการปฎิวัติความคิดในสมัยรัชกาลที่ ๕ และต่อมาในปัจจุบัน ที่ได้ดำเนินตามรอยการอนุรักษ์ พระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม ตลอดจน พัฒนาต่อยอดเป็น ฉบับสัชฌายะ (Sajjhāya Phonetic Edition) รวมทั้ง ฉบับโน้ตเสียงปาฬิ (Pāḷi Notation Edition) และชุดเสียง สัชฌายะดิจิทัล (Digital Sajjhāya Recitation Edition) ชุดสมบูรณ์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ทรงเป็นประธานอุปถัมภ์ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

โครงการพระไตรปิฎกสากล เป็นโครงการที่ใช้แนวความคิดในการนำเทคโนโลยี มาดำเนินการอนุรักษ์เสียงปาฬิ ในพระไตรปิฎก โดยการบันทึกและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นต้นฉบับที่ว่าด้วยการถอดเสียงปาฬิ (Pāḷi Phonetic Transcription) ตอบสนองและมุ่งเน้นในทางวิชาการด้านสัททศาสตร์ ที่ยังไม่เคยมีการศึกษาและจัดทำ ต่างจากการศึกษาพระไตรปิฎกในอดีต ซึ่งมุ่งเน้นแต่การพิมพ์รูปศัพท์ เพื่อการแปล โดยมิได้คำนึงถึงรูปเสียง

https://www.facebook.com/WorldTipitakaFoundation/videos/777501676011744

https://www.facebook.com/WorldTipitakaFoundation/videos/1470043993089470


แหล่งอ้างอิง:


โพสที่เกี่ยวข้อง:


คำสืบค้น: วิธี อ่าน อ่านบทสวดได้อย่างถูกต้อง การออกเสียง เสียง ออกเสียง อักขระ วิธีออกเสียง อักษรปาฬิ Pāḷi Phonetic Transcription Pāḷi Notation Transcription Tenuto Musical Symbol Pāḷi Phonetic Symbol ที่ถูกต้อง รักษา อนุรักษ์ ต้นฉบับ ดั้งเดิม สังคายณา สังคีติ คำสวดพระไตรปิฎก พระไตรปิฎก ดิจิทัล เสียงดิจิทัล สังฆราชูปถัมภ์ พากษ์ภาษาไทย ภาษาไทย พยัญชนะ ถอดอักขระ อักขะระ สื่อหนังสือ สื่อดิจิทัล ตัวจริง แท้จริง อนุรักษ์ รวบรวมคำสอน คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธพจน์ คำตรัสสอน ธัมมวินัย พุทธกาล อดีต อนาคต พระพุทธศาสนา อักษร อักษรโรมัน ภาษาโรมัน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ฉบับ จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช ร.ศ.112 2436 อักษรสยาม แอพพลิเคชั่น ปาฬิ สมาร์ทโฟน เสียงสัชฌายะ

คู่มือ โน้ตเสียงพระไตรปิฎกสากล ปาฬิ-สัททะอักขะระ พ.ศ.2563