มาเรียน “อภิธรรม” กันเถอะ
วัดจากแดง เปิดรับสมัครนักศึกษาทั้งพระภิกษุ และฆราวาสผู้ใครสนใจเรียนรู้ “พระอภิธรรม”
หลักสูตร “อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย” มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วัตถุประสงค์
• เพื่อรักษาหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา ให้มั่นคงสืบต่อไป
เพื่อเผยแพร่หลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในส่วนของพระอภิธรรมปิฎก
อันจะยังประโยชน์ให้ผู้ที่สนใจศึกษา เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของชีวิตและรู้แนวทางการปฏิบัติ
เพื่อเข้าถึงความพ้นทุกข์ ตามพุทธประสงค์
หลักสูตรพระอภิธรรม โดยแบ่งออกเป็น ๙ ชั้น ดังนี้
• ชั้นที่ ๑ จูฬอาภิธรรมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา ๖ เดือน)
ปริจเฉทที่ ๑ จิตตสังคหะ ศึกษาความหมาย ธรรมชาติ การจำแนกจิตโดยย่อและโดยพิสดาร
ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหะ ศึกษาความหมาย ลักษณะและความ สัมพันธ์ระหว่างจิตและเจตสิก
ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหะ นิพพาน ศึกษาความหมาย โครงสร้างประกอบ เนื้อหาของรูปและนิพพาน
• ชั้นที่ ๒ จูฬอาภิธรรมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา ๖ เดือน)
ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหะ ศึกษาความหมายประเภทและความสัมพันธ์ ระหว่างจิตและ เจตสิกที่มีต่อเวทนา
เหตุ กิจ ทวาร อารมณ์ และวัตถุ
ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหะ ศึกษาความหมาย ความสำคัญ โครงสร้างและเนื้อหาตามหลัก สมุจจยสังคหะโดยละเอียดอกุศล มิสสกะ โพธิปักขิยะและสัพพสังคหะ
• ชั้นที่ ๓ จูฬอาภิธรรมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา ๖ เดือน)
ธัมมสังคณีสรูปัตถนิสสยะ (มาติกาโชติกะ) ศึกษาความหมายโครงสร้าง เนื้อหาสาระของคัมภีร์ธัมมสังคณี ประเภทของมาติกา, ติกมาติกา, ทุกมาติกา, อภิธัมมทุกมาติกา, สุตตันติกทุกมาติกา
• ชั้นที่ ๔ มัชฌิมอาภิธรรมมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา ๑๒ เดือน)
ปริจเฉทที่ ๔ วีถีสังคหะ ศึกษาความหมายของวิถีจิต โครงสร้าง และกฏเกณฑ์ของวิถีจิต ปัญจทวารวิถี
มโนทวารวิถี กามชวนมโนทวารวิถี อัปปนาชวนมโนทวารวิถี การจำแนก วิถีจิตโดยภูมิและบุคคลอย่างละเอียด
ปริจเฉทที่ ๕ วิมุตตสังคหะ ศึกษาความหมายโครงสร้างและเนื้อหาของวิมุตตสังคหะภูมิจตุกกะ ปฏิสนธิจตุกกะ
กัมมจตุกกะ มรณุปปัตติจตุกกะโดยละเอียด
• ชั้นที่ ๕ มัชฌิมอาภิธรรมมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา ๑๒ เดือน)
ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหะ ศึกษาความหมายของปัจจยสังคหะ ตามปฏิจจสมุปบาทนัย ความเป็น ไปของเหตุและผลที่เกี่ยวเนื่องกันตามปัฏฐานนัย
ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหะ ศึกษาความหมาย ประเภท ความสำคัญ และประโยชน์ของ สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐานโดยอาศัยอรรถกถาและฎีกาประกอบ
• ชั้นที่ ๖ มัชฌิมอาภิธรรมมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา ๑๒ เดือน)
ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ (ปัญหาพยากรณโชติกะ) ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาและประเภทของธาตุกถา ในนยมาติกา อัพภันตรมาติกานยมุขมาติกา ลักขณมาติกา พาหิรมาติกา
• ชั้นที่ ๗ มหาอาภิธรรมมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา ๑๒ เดือน)
ยมกสรูปัตถนิสสยะ(มูลยมก) ศึกษาความหมายโครงสร้างเนื้อหาสาระและประเภทของมูลยมก
การจำแนกมูลยมก ทั้ง ๔ ประเทภ โดยนัย ๔ การจำแนกมูลยมก ๔ และนัย ๔ โดยยมก ๓ ยมกสรูปัตถนิสสยะ
(ขันธยมก) ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระและประเภทของขันธยมก ปัณณัตติวาระ ปวัตติวาระ
และปริญญาวาระ
• ชั้นที่ ๘ มหาอาภิธรรมมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา ๑๒ เดือน)
ยมกสรูปัตถนิสสยะ (อายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก)
ศึกษาความหมายโครงสร้างเนื้อหาสาระของอายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก ประเภทของ อายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก ปัณณัตติวาระ ปวัตติวาระ ปริญญาวาระ
• ชั้นที่ ๙ มหาอาภิธรรมมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา ๑๒ เดือน)
มหาปัฏฐาน (ปัจจัยโชติกะ)
ศึกษาความหมายโครงสร้างเนื้อหาสาระของปัฏฐานและประเภทของปัฏฐาน
สรุปเนื้อความ ๓ ประการ การจำแนกปัจจัย ๒๔ โดยความเป็นกุศล อกุศล และอัพยากตะ
รวมใช้เวลาในการศึกษาจนจบหลักสูตรทั้ง ๙ ชั้น ๗ ปี ๖ เดือน
ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาพระอภิธรรม
• เข้าถึง หลักธรรมคำสั่งสอนที่ถูกต้องในพระพุทธศาสนาคืออะไร และหัวใจของพระพุทธศาสนาอยู่ที่ไหน
• เข้าถึงธรรมชาติของร่างกาย และจิตใจ ที่รวมกันเป็นชีวิต หรือขันธ์ 5 อันประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ว่าแท้จริงแล้ว เป็นแค่เพียงสภาวะที่ปรากฏเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยที่ปรุงแต่งขึ้นมาเท่านั้น
มิใช่เป็นสัตว์ มิใช่เป็นบุคคล มิใช่เป็นเขา ตามที่หลงผิดกัน
• เข้าถึงเรื่องของบัญญัติธรรม และปรมัตถธรรมอย่างชัดเจน
• เข้าถึงได้ด้วยตัวเองว่าอะไรเป็นบุญ อะไรเป็นบาป
• เข้าถึงความเข้าใจในเรื่องของการทำบุญมากขึ้น รู้ว่าจะต้องทำบุญอย่างไรจึงจะได้รับอานิสงส์สูงสุด
• เข้าถึง บุญ บาป ที่ทำไปแล้ว กลับมาส่งผลได้อย่างไร ทำไมคนเราเกิดมาจึงแตกต่างกัน
• เข้าถึงธรรมชาติของความตายว่า ตายแล้วไปไหน ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ นรก สวรรค์อยู่ที่ไหน
• เข้าถึงเรื่องกรรมและผลของกรรม (วิบาก) เป็นอย่างดี
• เข้าถึงเรื่องการทำสมาธิ และการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง
• เข้าถึงเรื่อง มรรค ผล นิพพาน อย่างถ่องแท้
• เข้าถึงความรู้ในสาระอื่นๆ อันเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตอีกมากมาย