15 ก.พ. Greenery Talk 2020: กรีนให้ได้ กินให้ดี ณ หอศิลปกรุงเทพฯ

(โพสวีดีโอจากเพจ Greenery Talk 2020 : พระอาจารย์มหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร เริ่มเทศน์ในเวลา 1:58 หรือ -22.30)

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=180706156696741&id=101761084591249
Greenery Talk 2020: กรีนให้ได้ กินให้ดี รวม 10 เรื่องราวแห่งการกินดี อยู่ดี จาก 10 ผู้บรรยายที่จะส่งต่อแรงบันดาลใจสู่การลงมือทำ เพื่อเรา และเพื่อโลก เสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 12.30-17.30 น. ณ หอศิลปกรุงเทพฯ 

Greenery Talk 2020 กรีนให้ได้ กินให้ดี

15 Feb 2020 at 12:30 – 17:30
Bangkok Art and Culture Centre
Bangkok, Thailand
Greenery ชวนร่วมฟัง 10 เรื่องราวแห่งการกินดี อยู่ดี ส่งต่อแรงบันดาลใจสู่การลงมือทำ เพื่อเรา และเพื่อโลก
.
วัน-เวลา: เสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563 | เวลา 12:30-17:30 น.
สถานที่: ชั้น 5 ห้องออดิทอเรียม หอศิลปกรุงเทพฯ (BACC)
ค่าใช้จ่าย: 200 บาท/ที่นั่ง (220 ที่นั่ง) 
สำรองที่นั่ง: http://go.eventpop.me/grtalk2020
รายละเอียด: www.greenery.org/talk
ติดตามความเคลื่อนไหว: www.facebook.com/events/2217872391854041
.
(*) ผู้เข้าร่วมที่ซื้อบัตรจะได้รับ Gift Voucher มูลค่า 100 บาท สำหรับนำไปอุดหนุนสินค้ากินดี กรีนดีใน Greenery Market ช่วงวันที่ 14 ก.พ.-15 มี.ค. 63 (สำหรับ Gift Voucher ที่ไม่ได้ถูกนำไปจับจ่ายในช่วงเวลาที่กำหนด Greenery จะนำไปบริจาคให้กับให้มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน) www.greenery.org/market
(*) รายได้ 100 บาทจากการจำหน่ายบัตรแต่ละใบ Greenery จะนำไปบริจาคให้มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อใช้ในกิจกรรมการพัฒนาองค์ความรู้ด้านเกษตรกรรมและสร้างความมั่นคงทางอาหาร
(*) ทุกที่นั่งจะได้รับของที่ระลึกจาก Greenery Talk และรวมอาหารว่างช่วงเบรก
.
#GRTALK2020 #GreeneryTalk #กรีนให้ได้กินให้ดี
 
———————————————————————————
 

SPEAKERS:

ดร. สุภาภรณ์ อนุชิราชีวะ / บริษัท ปลาออร์แกนิก วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด
ธุรกิจของชาวประมงพื้นบ้านที่เน้นขายตรงแก่ผู้บริโภค เพื่อส่งเสริมวิถีประมงพื้นบ้านที่ทำประมงอย่างรับผิดชอบ สื่อสารและส่งมอบอาหารทะเลที่ปลอดภัย สดใหม่ ให้แก่คนเมือง ในราคาที่เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
 
คนึงนิตย์ ชะนะโม / 0๙d
สาวชาวนาเจ้าของฉายา “อุ้ม ชะนีอินดี้” และหนึ่งในสมาชิกกลุ่มชาวนาไทอีสาน ผู้มีวลีเด็ดประจำใจ “เฮ็ดอยู่ เฮ็ดกิน เฮ็ดในสิ่งที่เชื่อ” ผู้อนุรักษ์เมล็ดพันธุ์ผักท้องถิ่นโดยให้ชุมชนช่วยกันปลูกเพื่อรักษาให้คงอยู่
 
พระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร / วัดจากแดง
ผู้ที่ทำให้เห็นว่าการจัดการขยะนับเป็นกิจของสงฆ์เช่นกัน เมื่อวัดกลายเป็นบ่อเกิดขยะที่สำคัญ ท่านจึงคิดกุศลโลบายชวนญาติโยมมาปฏิบัติธรรมผ่านการแยกขยะ จัดการขยะทางโลกและขยะทางใจไปพร้อมกัน
 
ศิวพร เอี่ยมจิตกุศล / สวนผักป้าเบส
ผู้บุกเบิกแปลงผักผลไม้อินทรีย์จนเป็นที่ยอมรับว่าเชื่อใจได้ เจ้าแรกๆ ในจังหวัดจันทบุรี แม้ไม่ได้มีรากฐานทำเกษตรมาก่อน แต่มุ่งมั่นที่จะเดินหน้าหาความรู้ด้วยตัวเองมากว่าสิบปี ด้วยความตั้งใจที่จะส่งความปรารถนาดีผ่านผักสดๆ ถึงมือผู้บริโภค
 
ธมลวรรณ วิโรจน์ชัยยันต์ / moreloop
ผู้ร่วมก่อตั้งสตาร์ทอัพน้องใหม่สุดกรีน ใช้ทักษะด้านการผลิตและการตลาดออนไลน์มาแก้ปัญหาที่ ถูกสุมใต้กองผ้าเหลือก้นโรงงาน สร้างวงจรหมุนวนใช้ซ้ำให้เกิดมูลค่า พลิกวิกฤตเป็นโอกาสให้กับธุรกิจรักษ์โลก
 
บุญสมิทธิ์ พุกกะณะสุต / Foodwork
เชฟและพิธีกร กับประสบการณ์การตามหาวัตถุดิบท้องถิ่นหายากจากทั่วทุกสารทิศของไทยมากว่า 8 ปี และบนเส้นทางแห่งรสชาตินี้เองที่นำพาเขาไปรู้จักกับรสธรรมชาติที่แท้จริงผ่านอาหารและวิถีชีวิตของผู้คน
 
กนกพร ดิษฐกระจันทร์ / กลุ่มส่งเสริมเกษตรกรอู่ทอง
เกษตรกรและนักการตลาดหญิงแกร่งแห่งเมืองสุพรรณ ใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเชิงรุกพาผักพื้นบ้านบุกใจกลางเมือง เปลี่ยนแผงผักธรรมดาๆ ให้กลายเป็น Kiosk ผักสดริมรั้วบ้านและสารพัดวัตถุดิบปลอดภัย
 
สุภัชญา เตชะชูเชิด / Refill Station
ผู้ร่วมก่อตั้งธุรกิจบริการเติมสารพัดน้ำยา พร้อมอุปกรณ์เอาตัวรอดที่ลดการสร้างขยะรอบตัวเรา และผู้จุดประกาย Greenery Challenge คอมมูนิตี้กรีนดีที่ชวนทุกคนมาช่วยกันลดใช้พลาสติกในชีวิตประจำวัน
 
วัลลภา แวน วิลเลียนส์วาร์ด / Food Citizen
นักขับเคลื่อนรุ่นใหญ่บนถนนสายอาหารและเกษตรอินทรีย์มากว่าสิบปี ผู้ริเริ่มตลาดสีเขียวในพื้นที่เมืองคนแรกๆ เพื่อให้คนไทยได้กินอาหารที่ดีและปลอดภัย ด้วยความเชื่อที่ว่า “อาหารเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีได้”
 
อำนาจ เรียนสร้อย / แทนคุณ ออร์แกนิคฟาร์ม
เจ้าของฟาร์มปศุสัตว์ทางเลือกที่ศรัทธาในวิถีแห่งเกษตรอินทรีย์ ใช้วิธีการตามธรรมชาติในการจัดการทั้งกระบวนฟาร์ม ปล่อยให้ไก่ได้คุ้ยเขี่ยหากินอย่างอิสระ จนออกผลมาเป็นไข่และไก่ที่มีคุณภาพและปลอดภัยอย่างแท้จริง
 
หมายเหตุ:
* แนะนำการเดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะ เนื่องจากพื้นที่จอดรถมีจำกัด
* หากนำรถมาจอด ผู้ร่วมงานสามารถประทับตราเพื่อจอดรถฟรีได้ 2 ชม. แรกเท่านั้น
* รายละเอียดและการเดินทาง www.bacc.or.th/content/location-map.html
* มีทางเดินเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้า BTS สนามกีฬาแห่งชาติ
* หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกปทุมวัน หัวมุม ถ.พระราม 1 และ ถ.พญาไท ตรงข้ามห้างมาบุญครอง และสยามดิสคัฟเวอรี่

ภาพและข่าวจาก:

https://www.eventpop.me/e/8170-grtalk2020

โพสอื่นๆ ที่เกียวข้อง: