พัดรอง ที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ผู้แทนพระองค์มาถวาย พัดรองที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แด่พระราชวัชรบัณฑิต

วันฉัตรมงคล ตรงกับวันที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔ ถือเป็น วันฉลองพระเศวตฉัตรปีแรกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน และเป็นวันรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลอากาศตรี สุพิชัย สุนทรบุระ รองเลขาธิการพระราชวัง เป็นผู้แทนพระองค์มาถวาย พัดรอง ที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แด่พระราชวัชรบัณฑิต (ประนอม ธมฺมาลงฺกาโร) ณ สุธัมมศาลา ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔

พัดรองที่ระลึกงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แด่ท่านเจ้าคุณพระเมธีวชิรโสภณ
ภาพโดย Samrit(puy): ผู้แทนพระองค์มาถวาย พัดรอง ที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แด่พระราชวัชรบัณฑิต วัดจากแดง

อัลบั้มรูป คลิก..

พระเมธีวชิรโสภณ พัดรอง ที่ระลึกงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ภาพโดย Samrit(puy): ผู้แทนพระองค์มาถวาย พัดรอง ที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แด่พระราชวัชรบัณฑิต วัดจากแดง

พัดรอง คือพัดหรือตาลปัตรที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นถวายแก่พระสงฆ์เป็นที่ระลึกในการพระราชพิธีสำคัญ ทำขึ้นเพื่อให้พระสงฆ์ใช้สำหรับพิธีทำบุญทั่วไป จัดเป็นพัดสำรองแทนพัดยศ ซึ่งพัดยศจะใช้เฉพาะในงานพระราชพิธีเท่านั้น

วันฉัตรมงคล (Coronation Day) ตรงกับวันที่ ๔ พฤษภาคม หมายถึง พระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร ซึ่งจะกระทำในวันคล้ายวันบรมราชาภิเษก มีความเกี่ยวข้องกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นขั้นตอนตามโบราณราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์ไทยได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการ ด้วยการถวายน้ำอภิเษก โดยแบ่งออกเป็น 2 พระราชพิธีสำคัญคือ 1)พระราชพิธีบรมราชาภิเษก และ 2)พระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร

ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 10) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีนี้ขึ้นในวันที่ 4 – 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 โดยพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างเป็นทางการจัดขึ้นในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (วันฉัตรมงคลถูกกำหนดวันขึ้นตามวันบรมราชาภิเษก) และในปีถัดไปจึงถือว่าวันนี้เป็นวันฉัตรมงคล

ในประเทศไทยเริ่มมีตั้งแต่สมัยสุโขทัย พบจากศิลาจารึกวัดศรีชุมของพญาลิไท แห่งกรุงสุโขทัย แต่ก็ไม่มีรายละเอียดว่าการประกอบพระราชพิธีในสมัยนั้น มีขั้นตอนอย่างใด เป็นการผสมผสานกันระหว่างธรรมเนียมของ “ศาสนาฮินดู” และ “ศาสนาพุทธ” เป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อป่าวประกาศให้เหล่าเทวดาฟ้าดินรับรู้ว่า บัดนี้จะมีพระมหากษัตริย์หรือพระผู้เป็นเจ้าเกิดขึ้นอีกพระองค์หนึ่งแล้ว เป็นพระราชพิธีที่ปฏิบัติสืบต่อเนื่องกันมาในสมัยอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี กระทั่งปัจจุบัน คือ กรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) เมื่อขึ้นเสวยราชสมบัติ ได้ทรงทำพระราชพิธีนี้อย่างสังเขป เมื่อ พ.ศ. 2325 ครั้งหนึ่งก่อน แล้วทรงตั้งคณะกรรมการ โดยมีเจ้าพระยาเพชรพิชัย ซึ่งเป็นข้าราชการ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นประธาน สอบสวนแบบแผนโดยถี่ถ้วน แล้วตั้งแบบแผนพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นตำรา

โดยพระราชพิธีบรมราชาภิเษกประกอบไปด้วย พระราชพิธีสรงพระมูรธาภิเษก, พระราชพิธีถวายน้ำอภิเษก, พระราชพิธีถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ และการสถาปนาพระราชินีและพระราชวงศ์ ส่วนพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร เป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้นโดยเหล่าสมาชิกของราชวงศ์ในพระบรมมหาราชวัง

ภายหลังจากประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเสร็จสิ้นแล้ว พระมหากษัตริย์จะประทับพระที่นั่งราชยานพุดตานทอง ไปประกาศพระองค์เป็นพุทธมามกะและเสด็จไปสักการะพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมราชบูรพการี


คำสืบค้น: ในหลวง, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ร.10, รัชกาลที่ 10, ตัวแทน, ผู้แทนพระองค์, องค์รักษ์, พิธีบรมราชาภิเษก, พัดสำรอง, พัดที่ระลึก, พัดแทน, มอบพัด, มอบ, ที่ระลึก, งานพิธี, งานพระราชพิธี, พระราชพิธี พิธี, ฉัตรมงคล, วันฉัตรมงคล, ฉลอง พระเศวตฉัตร 


โพสอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง:

ผู้แทนพระองค์มาถวาย พัดรอง ที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชวัชรบัณฑิต วัดจากแดง