พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ 2558 คุ้มครองสิทธิ์ในโลกโซเชียล ผู้ใช้ต้องทำยังไง!
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ 2558 คุ้มครองสิทธิ์ในโลกโซเชียล โพส แชร์ ใช้ ดาวน์โหลดซอฟแวร์, ภาพ, เสียง, วีดีโอ, ต้องทำยังไง! 🙄
วันที่ 4 กรกฎาคม 2558 พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ได้มีผลบังคับใช้ต่อผู้ที่แชร์ ก๊อปรูปหรือข้อมูล เพื่อการค้าโดยไม่ให้เครดิตเจ้าของ จะเข้าข่ายทำผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่นี้ทันที
สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ 2558
1. คุ้มครองสิทธิในข้อมูลของเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ให้คนอื่นลบหรือเปลี่ยนแปลงโดยไม่ชอบ
2. คุ้มครองมาตรการทางเทคโนโลยีที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาใช้ปกป้องงานอันมีลิขสิทธิ์ เช่น พาสเวิร์ด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ใช้ควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ต หากบุคคลใดทำลายมาตรการดังกล่าวโดยเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ยินยอมถือว่ามีความผิด
3. กำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์การทำซ้ำชั่วคราว ด้วยการทำซ้ำชั่วคราวโดยความจำเป็นของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเรียกดูงานมีลิขสิทธิ์ ไม่ถือเป็นการละเมิด เนื่องจากการดูภาพยนตร์หรือฟังเพลงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องต้องทำซ้ำงานเพลงหรือภาพยนตร์ในหน่วยความจำทุกครั้ง
4.จำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น หากมีการเผยแพร่ไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ผ่าน ยูทูบ เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถร้องให้ศาลสั่งเว็บไซต์ยูทูบถอดไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ออก หากเจ้าของยูทูบถอดไฟล์แล้ว ก็จะไม่ต้องรับผิด กรณีมีการอ้างว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น
5. เพิ่มข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์กรณีการจำหน่ายต้นฉบับหรือสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ โดยกำหนดให้การขายงานอันมีลิขสิทธิ์มือสองสามารถทำได้โดยไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยผู้ที่ฝ่าฝืนจะมีโทษปรับฐานละเมิดตั้งแต่ 10,000-400,000 บาท จำคุก 3 เดือน- 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
➡ แหล่งที่มา : News.Voicetv “ดีเดย์ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ใหม่คุมเข้มแชร์ผ่านโซเชียลฯ” http://news.voicetv.co.th/thailand/240705.html
พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้แรงของกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหน่วยงาน ผลักดันการแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์มานานนับสิบปี ตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และมีผลบังคับใช้ในที่สุด ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับบริบททางสังคม และมีความเท่าทันเทคโนโลยีสมัยใหม่
และเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังขับเคลื่อนตามนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy)
ข้อดีที่น่าสนใจก็คือ
มีบทบัญญัติให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถร้องขอต่อศาล ให้มีคำสั่งไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตมือถือ หรือองค์กรอื่นใดก็ตาม ให้ลบข้อมูลการละเมิดลิขสิทธิ์ออกได้…
ข้อควรแก้ไขปรับปรุงให้ชัดเจนอีกนิดก็คือ
กรณี มาตรา 53/3 ยกเว้นการละเมิดสิทธิ์ให้กับเจ้าหน้ารัฐ หรือสถาบันการศึกษา โดยไม่ระบุชัดว่าหมายถึงใคร บุคลากร นักเรียน นักศึกษา ทำให้ต้องตีความอีก อาจถูกอ้างว่า “ใช้เพื่อการศึกษา” เพื่อนำไปใช้ประโยชน์เกินขอบเขต อันอาจละเมิดสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ มากเกินไป
กรณีตัวอย่างการคุ้มครองเช่น E-Book ที่ดาวน์โหลดมาจะมีรหัสผ่าน หรือpassword ล็อกไว้ หากผู้ใดฝ่าฝืน เช่น ลักลอบทำลายมาตรการทางเทคโนโลยี (Hacking) รหัสผ่าน โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ยินยอม หรือนำไปจำหน่ายจ่ายแจก จะมีความผิดโทษจำคุก 2 ปี
อีกกรณีตัวอย่างการคุ้มครองสำหรับนักแชร์ข้อมูลต่างๆ ในโลกโซเชียลสามารถทำได้โดยถูกกฎหมาย แต่ต้องอ้างอิงแหล่งที่มาและเจ้าของงานชิ้นนั้นๆ อย่างชัดเจน ห้ามลบแก้ไขชิ้นงานหรือดัดแปลงงาน จะถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฉบับใหม่
*ภาพประกอบบทความบางส่วน คัดลอกมาจากgoogle : ติดป้ายกำกับว่าสามารถใช้ซ้ำและแก้ไขได้