อึ้ง ทึ่ง เสียว “วัดพลาสติกรีไซเคิล” กุฏิพระจากกล่องนม กุฏิรีไซเคิล สมุทรปราการ ช่อง 8

อึ้ง ทึ่ง เสียว “วัดพลาสติกรีไซเคิล” กุฏิพระจากกล่องนม กุฏิรีไซเคิล สมุทรปราการ ช่อง 8 หมายเลข 27 ดำเนินรายการโดย (โบว์ลิ่ง) ปริศนา กัมพูสิริ นางสาวไทยประจำปี 2555 สัมภาษณ์ พระอาจารย์มหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร เจ้าอาวาสวัดจากแดง เมื่อมองดูรอบๆ วัดจากแดงในตอนนี้มี ของรีไซเคิล ที่เป็นขยะพลาสติกรีไซเคิล มากมาย ไม่ว่าจะเป็น รีไซเคิลพลาสติก รีไซเคิลกระดาษ รีไซเคิลขวดน้ำ แล้วก็สารพัดพลาสติก เหล่านี้ล้วนได้มาจากการที่ญาติโยมนำมาบริจาคที่วัดแห่งนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่า ขยะพลาสติกอาจใช้เวลาในการย่อยสลายหลายร้อยปี ดังนั้นหากเราสามารถจัดการแปรรูปมันในช่วงเวลาอายุขัยที่มันเหลืออยู่ได้ ก็เป็นการช่วยโลกด้วยทางนึง ทางวัดได้รวบรวมขยะจากการบริจาคของชาวบ้าน โดยเฉพาะขวดพลาสติก หรือขวด PET (เพชร) เอาไปทำผ้าได้ โดยเฉพาะที่วัดจากแดงนี้ นำไปทำเป็นผ้าไตรจีวร ทำเสื้อ ทำกระเป๋าผ้า รองเท้า ตุ๊กตา 

นางสาวไทยประจำปี 2555 ปริศนา กัมพูสิริ โบว์ลิ่ง อึ้ง ทึ่ง เสียว "วัดพลาสติกรีไซเคิล" สมุทรปราการ ช่อง8

หากสังเกตดูที่ก้นขวด จะเห็นตัวอักษรนูน สัญลักษณ์ลูกศร 3 ตัว หมุนวน รอบหมายเลข มีความหมายดังนี้ 

  • เบอร์ 1 คือ โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene Terephthalate) หรือ เพ็ท (PET หรือ PETE) ทำขวดบรรจุน้ำดื่ม น้ำมันพืช สามารถรีไซเคิลให้เป็นเส้นใยสังเคราะห์ นำไปทำเสื้อ กระเป๋า พรม ได้
  • เบอร์ 2 คือ โพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) หรือ เอชดีพีอี (HDPE) ทำขวดนม ขวดน้ำ ขวดแกลลอนสำหรับน้ำยาทำความสะอาด ยาสระผม สามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็นขวดน้ำมันเครื่อง ท่อร้อยสายไฟ ลังพลาสติก และไม้เทียม เป็นต้น
  • เบอร์ 3  คือ โพลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride) หรือ พีวีซี (PVC) ทำท่อน้ำประปา สายยางใส แผ่นฟิล์มห่ออาหาร ทำประตู หน้าต่าง และหนังเทียม สามารถนำมารีไซเคิลเป็น ท่อน้ำประปา กรวยจราจร เฟอร์นิเจอร์โต๊ะ เก้าอี้ ชั้นวางของ ม้านั่งพลาสติก ตลับเทป เป็นต้น
  • เบอร์ 4 คือ โพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene) หรือ แอลดีพีอี (LDPE) ใช้ทำฟิล์มห่ออาหาร และห่อบรรจุภัณฑ์สิ่งของ สามารถนำมารีไซเคิลเป็นถุงหูหิ้ว ถุงดำสำหรับใส่ขยะ ถังขยะ กระเบื้องปูพื้น และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
  • เบอร์ 5  คือ โพลิโพรพิลีน (Polypropylene) หรือ พีพี (PP) ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร แก้วน้ำ ถัง ตะกร้า กระบอกน้ำ ขวดบรรจุยา เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็นกล่องแบตเตอรี่ ชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมรถยนต์ ไม้กวาดพลาสติก เป็นต้น
  • เบอร์ 6 คือ โพลีสไตรีน (Polystyrene) หรือพีเอส (PS) ใช้ทำภาชนะบรรจุภัณฑ์ โฟมใส่อาหาร สามารถนำมารีไซเคิลเป็นไม้แขวนเสื้อ ไม้บรรทัด แผงสวิตช์ไฟ ฉนวนกันความร้อน ถาดใส่ไข่ รวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ
  • เบอร์ 7 หรือ Other ไม่มีการระบุชื่อจำเพาะ ไม่ใช่พลาสติกชนิดใดชนิดหนึ่งใน 6 กลุ่มข้างต้น  แต่ก็สามารถนำมากลับมาหลอมใช้ใหม่ได้ พลาสติกทั้ง 7 ชนิดนี้ ผลิตจากบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC โดยได้รับเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ และ มาตรฐาน GMP และ HACCP ที่มีกระบวนการผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

ฝึกคัดแยกขยะ นักเรียน นักศึกษา วัดจากแดง

การคัดแยกขยะของวัดจากแดง

ขยะที่ได้มาจากการบริจาคของชาวบ้านจะถูกคัดแยก โดยเฉพาะ ขวดน้ำพลาสติก แยกฝา แยกฉลากออก  ขวดเอาไปเข้าเครื่องอัดเป็นก้อนเก็บสะสมไว้ให้ครบ 10 ตัน ใส่รถบรรทุกไปโรงงานบดเป็นเส้นใย ทอเป็นเส้นด้าย แล้วย้อมทอเป็นผ้าผืน ส่งกลับมาให้ช่างตัดเย็บฝีมือชาวชุมชนโดยรอบวัดจากแดง ตัดเป็น จีวร บ้าง ไปทำกระเป๋าบ้าง เปรียบให้เห็นภาพคือ กระบวนการรีไซเคิลนี้ ต้นน้ำกับปลายน้ำเป็นหน้าที่ของทางวัดทำ ส่วนกลางน้ำ ให้โรงงานทำให้

ปริศนา กัมพูสิริ โบว์ลิ่ง อึ้ง ทึ่ง เสียว "วัดพลาสติกรีไซเคิล" สมุทรปราการ ช่อง8

ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจาก ขยะพลาสติก

กรรมวิธีการนำ ขยะพลาสติก มาผสมเส้นใยต่างๆ ถักทอเป็นผ้าได้นั้น มีมานานหลายสิบปีแล้ว พระอาจารย์ประนอม ท่านได้เดินทางไปดูงานที่ มูลนิธิฉือจี้ เป็นองค์กรการกุศลที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน และเป็นองค์กรระดับข้ามชาติเลยทีเดียว มีสมาชิกมากกว่า 10 ล้านคนทั่วโลก อาสาสมัครที่อุทิศตัว ไม่มีเงินเดือน มากกว่า 1 ล้านคน มีโรงพยาบาลมาตรฐานสูงของมูลนิธิที่ติดอันดับต้นๆ ไต้หวัน มีสถาบันการศึกษาครบทุกระดับ มีเอกลักษณ์ในด้านการสอนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอน สอนให้ เห็นความสำคัญของการรีไซเคิล ประโยชน์ รีไซเคิล รีไซเคิลของเหลือใช้ ประดิษฐ์ขยะรีไซเคิล และขยายงานเข้าสู่กิจการด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม งานประจำอย่างหนึ่งก็คือ การแยกขยะ เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม มีโรงงานแยกขยะเล็กๆ ไม่ใหญ่โตอะไร แต่กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 5,000 แห่ง ประชาชนกลายเป็นผู้ไม่สร้างขยะ เพราะต่างนำขยะไปรีไซเคิล ช่างเป็นมนุษย์ที่มีความศิวิไลซ์มากๆ

ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากขยะพลาสติก

สำหรับวัดจากแดงที่ทำโครงการรีไซเคิล ขยะที่คิดว่ามันไม่มีค่าเลย สำหรับวัดจากแดงแล้วมันคือ มันไม่ใช่ขยะ มันคือสิ่งมีมูลค่าสูงสุด คือ ผ้าไตรจีวร เวลาซักก็แห้งง่ายแห้งเร็วไม่ต้องรีดไม่ยับ 1 ผืน ใช้ขวดพลาสติกประมาณ 15 ใบ ถ้าทำผ้าไตร คือ สบง จีวร อังสะมีสังฆาฏิ ก็ใช้ขวดน้ำพลาสติก จำนวน 60 ใบ สำหรับส่วนที่เป็นฝาขวด ซึ่งเป็นพลาสติก PE ก็นำไปทำเป็นถาดรองแก้ว  ทำรองเท้า ทำกระเป๋า ทำไม้กวาดจากขวดน้ำ ส่วนกล่องนมก็นำมาทำเป็นฝากันห้อง ทำ กุฏิพระจากกล่องนม กุฏิรีไซเคิล สำหรับพระวัดจากแดงได้ด้วย

กุฏิพระจากกล่องนม กุฏิรีไซเคิล วัดจากแดง


ติดตามชม ThaiCh8 : ช่อง 8 หมายเลข 27:


โพสอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง:

อึ้ง ทึ่ง เสียว “วัดพลาสติกรีไซเคิล” สมุทรปราการ ช่อง 8 กุฏิพระจากกล่องนม กุฏิรีไซเคิล